按 Enter 到主內容區
:::

回培力新住民資訊網首頁

โซนป้องกันโรค
:::

ปรากฏการยืนยันโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบครั้งแรกในประเทศ เรียกร้องให้ประชาชนระวังสุขอนามัยของทางเดินหายใจ หากปรากฏอาการที่น่าสงสัยให้พบแพทย์โดยเร็ว

  • 回上一頁
  • 友善列印
字型大小:
  • 地點:臺灣
  • 發布日期:
  • 單位:衛生福利部
  • 更新日期:2024/03/29
  • 點閱次數:14

กรมควบคุมและป้องกันโรค(ต่อไปนี้เรียกว่า กรมควบคุมโรค)ได้ประกาศผู้ป่วยยืนยันโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบรายแรกในประเทศของปีนี้(2024) เป็นเด็กหญิงจากภาคเหนืออายุ 4 ปี ไม่เคยมีประวัติท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยปรากฏอาการ่โรคทางเดินหายใจ เช่น ไอ คัดจมูกเมื่อต้นเดือนมีนาคมของปีนี้(2024) และภายหลัง 1 สัปดาห์มีอาการรุนแรงขึ้น และปรากฏอาการไข้ขึ้น อาเจียน อ่อนแรงทั้งตัวอย่างต่อเนื่อง เข้าพบแพทย์เพื่อรักษาหลายครั้งอาการยังไม่ดีขึ้น โรงพยาบาลได้รายงานและตรวจสอบยืนยันว่าเป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปัจจุบันอาการยังทรงตัว

กรมควบคุมโรคชี้แจงว่า ช่องทางการแพร่ระบาดของโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบส่วนใหญ่มาจากการสัมผัสสารคัดหลั่งหรือละอองน้ำลายจากโพรงจมูกหรือลำคอของผู้ติดเชื้อหรือผู้เป็นพาหะเชื้อ จะต้องสัมผัสอย่างใกล้ชิดหรือเป็นเวลานานจึงเกิดการแพร่ระบาด ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงอาจไม่มีอาการแต่มีเชื้อตรงบริเวณจมูกและลำคอ โดยมีเพียงพาหะเชื้อบางส่วนที่จะพัฒนาเป็นโรคลุกลาม ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำจะเกิดโรคได้ง่ายกว่า โดยมีระยะแฝงตัวประมาณ 2~10 วัน โดยมีอาการหลัก ๆ ได้แก่ ไข้ขึ้น ปวดศีรษะรุนแรง คอแข็งตึง คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นแดงาแบบมีเลือดออก บางครั้งจะมีอาการหมดสติและเพ้อเกิดขึ้น หากรุนแรงอาจช็อคและเสียชีวิตได้ จะต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทันที ทารกที่อายุต่ำกว่า 1 ปี อาการไม่แน่นอนและสังเกตได้ยาก โดยทั่วไปจะมีเพียงอาการไข้ขึ้น อาเจียน เป็นต้น นอกจากนี้อาจะมีอาการ กระสับกระส่าย ร้องไห้ กินอาหารลำบาก เป็นต้น หรือมาลักษณะกระหม่อมบวมออก แต่อาจไม่มีอาการคอแข็งตึงที่เป็นอากาคของโรคไข้สมองอักเสบ

กรมควบคุมโรคย้ำเตือนว่า ช่วงระหว่างฤดูหนาวและใบไม้ผลเป็นฤดูกาลที่เกิดอาการโรคทางเดินหายใจได้ง่าย ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัดเกินไปและอากาศไม่ถ่ายเท พร้อมใส่ใจกับสุขอนามัยของมือและทางเดินหายใจ เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ หากปรากฏอาการที่น่าสงสัยให้พบแพทย์โดยด่วน วินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เริ่มแรก ป้องกันอาการรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ขอให้แพทย์เพิ่มความระมัดระวังและการรายงานมากยิ่งขึ้น และให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะในเวลาที่เหมาะสม ข้อมูลที่เกี่ยวข้องสามารถไปที่เว็บไซต์ข้อมูลทั่วโรคของกรมควบโรค(https://cdc.gov.tw) หรือติดต่อสายด่วนฟรีป้องกันโรคระบาด 1922 (0800-0


top