按 Enter 到主內容區
:::

回培力新住民資訊網首頁

ข่าวสารใหม่ล่าสุด
:::

ผลักดันการตรวจคัดครองมะเร็งปอด 1 ปี ผู้ที่สอดคล้องกับคุณสมบัติอย่างคุณได้ทำแล้วหรือยัง

  • 回上一頁
  • 友善列印
字型大小:
  • 地點:臺灣
  • 發布日期:
  • 單位:衛生福利部
  • 更新日期:2023/08/23
  • 點閱次數:38

มะเร็งปอดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งอันดับ 1 ของโลก โอกาสการเสียชีวิตมาตรฐานของมะเร็งปอดของไต้หวันในปี 2022 คือ 21.8 คนต่อ 100,000 คน เมื่อเทียบกับ 26.0 คนต่อ 100,000 คนในปี 2011 ถึงแม้ได้ลดลงแล้ว 16.2% แต่ยังคงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยมะเร็งอันดับ 1 ของไต้หวัน โอกาสเสียชีวิตของมะเร็งปอดค่อนข้างสูง มาจากอาการของโรคในระยะแรกไม่ชัดเจน ที่ไต้หวัน ผู้ป่วยครึ่งหนึ่งที่เข้ารักษาพบว่าเป็นระยะที่ 4 แล้ว แต่โอกาสรอดชีวิต 5 ปีอยู่ที่ประมาณ 10% เท่านั้น หากสามารถพบเห็นในระยะแรก โอกาสรอดชีวิตใน 5 ปีสูงกว่า 90% ขึ้นไป

เพื่อเป็นการช่วยเหลือกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสามารถตรวจพบมะเร็งปอดในระยะแรก สำนักงานสุขภาพแห่งชาติได้เปิดบริการตรวจคัดครองมะเร็งปอด กลายเป็นรายการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งอัน 5 ของไต้หวัน สำนักงานสุขภาพแห่งชาติได้ใช้ประสบการณ์จากการจัดทำการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งทั้ง 4 ที่ผ่านมา รวมกับขั้นตอนการเลิกบุหรี่ ตรวจคัดกรอง ติดตามและรักษา จัดทำบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดที่มีคุณสมบัติในด้านความทั่วถึง ความสะดวก ความเป็นมืออาชีพ เพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชน


ตรวจคัดกรองกับกลุ่มความเสี่ยงสูง ร่วมกับการเลิกบุหรี่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

เป้าหมายการช่วยเหลือสำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วยการตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์แบบปริมาณรังสีต่ำ (LDCT) ที่ส่งเสริมโดยสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ จะประกอบด้วย :

ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งปอด : ผู้ชายอายุ 50 ถึง 74 ปี หรือผู้หญิงอายุ 45 ถึง 74 ปี ที่พ่อแม่ บุตรหรือพี่น้องเคยวินิจฉัยเป็นมะเร็งปอด

ผู้สูบบุหรี่จัด : ผู้สูบบุหรี่จัดอายุ 50 ปีถึง 70 ปี และประวัติการสูบบุหรี่ถึง 30 ซอง-ปี(หมายเหตุ)ขึ้นไป และเลิกบุหรี่ยังไม่ถึง 15 ปี

ประชาชนที่มีคุณสมบัติตรวจคัดกรองข้างต้น สามารถทำการสอบถามและนัดจองการตรวจคัดกรองที่โรงพยาบาลภายใต้สัญญาการตรวจคัดกรองมะเร็งปอด ปัจจุบันมีโรงพยาบาลภายใต้สัญญาทั้งสิ้น 167 แห่งทั่วประเทศ ครอบคลุมถึง 22 เทศมณฑลและนคร ประชาชนสามารถเลือกตรวจคัดกรองตามความสะดวก (รายชื่อโรงพยาบาลและข้อมูลติดต่อ) เนื่องจากการตรวจทางการแพทย์หลายอย่างอาจมีการใช้เครื่องสแกนเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อหลีกเลี่ยงการส่งผลกระทบต่อสมรรถทางการแพทย์ โรงพยาบาลแต่ละแห่งจะจำกัดจำนวนคนให้บริการการตรวจคัดกรองแต่ละวัน จึงอาจไม่สามารถตรวจได้ตลอดเวลา สำนักงานสุขภาพแห่งชาติขอแนะนำคุณ ให้โทรศัพท์ไปยังโรงพยาบาลดังกล่าวเพื่อนัดตรวจล่วงหน้า จะได้ไม่เป็นการเสียเวลา สำหรับประชาชนผู้ที่มาตรวจคัดกรองหากมีการสูบบุหรี่ควรรับบริการเลิกบุหรี่จากหน่วยงานพิเศษของสำนักงานสุขภาพแห่งชาติก่อนตรวจคัดกรอง สำนักงานสุขภาพแห่งชาติขอชี้แจงว่า การตรวจคัดกรองไม่สามารถป้องกันโรคมะเร็ง การห่างไกลจากปัจจัยของโรคมะเร็งจึงเป็นมาตรการที่ดีที่สุดในการรักษาสุขภาพของตนเอง


ให้ความร่วมมือง่ายๆ 5 นาที ขั้นตอนตรวจคัดกรองสะดวกยิ่ง

ก่อนที่ประชาชนจะรับการตรวจคัดกรอง ให้ดูวีดีโอสุขศึกษาสำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปอด LDCT และทางโรงพยาบาลจะแจ้งวัตถุประสงค์ของการตรวจคัดกรอง ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ขั้นตอนหลังจากตรวจคัดกรองและสิ่งที่ควรให้ความร่วมมือ ให้ประชาชนสามารถรับรู้ประโยชน์ของการตรวจคัดกรองอย่างแท้จริง ลดความกดดันและความหวาดกลัวที่ไม่จำเป็นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่เข้าใจในโครงการ (แผนผังขั้นตอนตามเอกสารแนบ) ก่อนตรวจ ประชาชนไม่ต้องงดอาหาร ไม่ต้องฉีดสารทึบรังสี เวลาตรวจไม่ถึง 5 นาที และปริมาณรังสีมีเพียงแค่ 1 ใน 5 ของการสแกนเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ ประชาชนแค่นอนบนเตียงของเครื่องสแกน ให้ความร่วมมือกับคำสั่งของแพทย์ฉายรังสีหายใจลึกๆ แล้วกั้นลมหายใจ ก็เป็นการเสร็จสิ้นการตรวจคัดกรองในครั้งนี้ หลังจากตรวจคัดกรองแล้ว ภาพการตรวจคัดกรอง LDST ในครั้งนี้จะส่งให้กับแพทย์รังสีวิทยาเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยกับรอยโรคที่น่าสงสัย หากไม่พบจุดฝ้าที่น่าสงสัย ทางโรงพยาบาลจะแจ้งผลลัพธ์ของการตรวจคัดกรอง หากมีรอยโรคที่สงสัยว่าผิดปกติ ทางโรงพยาบาลจะติดต่อให้ประชาชนกลับมาเข้าตรวจคัดกรองเดิมเพื่อรับการรักษาอีกครั้งภายใน 6 สัปดาห์ โดยแพทย์ทรวงอกจะอธิบายรายงานด้วยตนเองและทำการประเมินผล จะมีคำสั่งว่าควรติดตามต่อเนื่องหรือดำเนินขั้นตอนการตรวจยืนยันในขั้นตอนต่อไป

กรุณาฟังคำสั่งของแพทย์เมื่อการตรวจคัดกรองผิดปกติ 4 วิธีในการดูแลปอด : “เลิก ป้อง เตือน ตรวจ”

หลังจากได้มีการดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดเป็นเวลา 1 ปี ได้พบผู้ป่วยที่ยืนยันเป็นมะเร็งปอด 531 คน โดยผู้ป่วยระยะแรก (ระยะ 0 และ 1) คิดเป็น 85.1% (452 คน) เป็นการพิสูจน์ว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดจะช่วยให้พบเจอในระยะแรกได้ อย่างไรก็ตาม การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเป็นแค่เครื่องมือสำหรับการพบรอยโรค ผู้อำนวยการสำนักงานสุขภาพแห่งชาติอู๋ จาว จวินเรียกร้องว่า หลังจากตรวจคัดกรองแล้วหากสงสัยว่ามีกรณีผิดปกติ จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์เพื่อติดตามและตรวจยืนยันโดยเร็ว หลีกเลี่ยงไม่ให้อาการของโรคทรุดหนัก เพื่อบรรลุผลจากการตรวจคัดกรองว่า "พบเจอแต่แรก รักษาแต่แรก"

ผู้อำนวยการอู๋ จาว จวินได้ย้ำเตือนอีกว่า การตรวจคัดกรองไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง จะต้องเริ่มจากการห่วงใยและดูแลตนเอง พัฒนาวิธีการที่ดีต่อสุขภาพ พร้อมแนะนำ 4 วิธีในการดูแลปอด : "เลิก ป้อง เตือน ตรวจ" :

เลิก(เลิกบุหรี่) : เลิกนิสัยติดบุหรี่ ห่างไกลจากอันตรายของบุหรี่

ป้อง (ป้องกัน) : กระตุ้นให้ญาติและเพื่อนที่อยู่ใกล้ตัวให้เลิกบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสภาพแวดล้อมของควันบุหรี่มือสอง เมื่อเผชิญกับปัจจัยเสี่ยง เช่น ควันน้ำมัน มลพิษทางอากาศ ควรป้องกันด้วยตนเอง

เตือน (สัญญาณเตือน) : หากพบว่าร่างกายมีสัญญาณเตือน (รวมถึง : ไอต่อเนื่องและไม่ดีขึ้น เสมหะปนเลือดหรือไอเป็นเลือด หายใจถี่ หายใจมีเสียงหวีด ปวดหน้าอกอย่างต่อเนื่องและมีอาการหนักขึ้น เสียงแหบ ปวดข้อกระดูก น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสัญญาณเตือน เบื่ออาหาร เป็นต้น) ควรพบแพทย์โดยเร็ว

ตรวจ (ตรวจคัดกรอง) : หากประชาชนร่างกายมีอาการผิดปกติ และสอดคล้องกับคุณสมบัติการตรวจคัดกรอง กรุณารีบเข้ารับการตรวจคัดกรอง เพื่อลดความเสี่ยงจากมะเร็งปอด

นอกจากการดูแลตนเองแล้ว ก็ต้องเตือนญาติและเพื่อนรอบกายที่สอดคล้องกับเงื่อนไขการตรวจคัดกรองว่า "การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด คุ้มครองเมื่อได้มีการตรวจ" รีบเข้ารับบริการ ลดภัยคุกคามจากมะเร็งปอด

หมายเหตุ : ซอง-ปี : จำนวนซองบุหรี่ที่ดูดต่อวัน * จำนวนปีที่สูบบุหรี่ (เช่น วันละ 1 ซอง สูบมาแล้ว 30 ปี หรือวันละ 1.5 ซอง สูบมาแล้ว 20 ปี จะคิดเป็น 30 ซอง-ปี)





top