按 Enter 到主內容區
:::

回培力新住民資訊網首頁

การดูแลรักษาสุขภาพ
:::

4 วิธีป้องกันโรคลมร้อนสำหรับเด็ก เพื่อช่วงวันหยุดปิดเทอมภาคฤดูร้อนที่มีความสุข

  • 回上一頁
  • 友善列印
字型大小:
  • 地點:臺灣
  • 發布日期:
  • 單位:衛生福利部
  • 更新日期:2023/07/12
  • 點閱次數:37

ตามข้อมูลการเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาฉุกเฉิน "ระบบแจ้งเตือนและเฝ้าติดตามสถานการณ์โรคติดต่อเรียลไทม์" ของกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ เมื่อสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเข้ารักษาโรคลมร้อนในกลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นจำนวน 89 คน คิดเป็น 2.3 เท่าของจำนวนคนที่เข้ารักษาในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดโรคลมร้อนได้ง่าย ประกอบด้วย พื้นที่กลางแจ้งที่มีอุณหภูมิสูง พื้นที่ในร่มที่อากาศไม่ถ่ายเทและพื้นที่ในรถที่ปิดสนิท ช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนถือเป็นโอกาสดีสำหรับเด็ก ๆ ในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ! ไม่ว่าจะเป็น ณ พื้นที่กลางแจ้งหรือในร่ม สำหรับวิธีลดความเสี่ยงหรือหลีกเลี่ยงโรคลมร้อนถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนจำเป็นต้องทราบ!

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กเล็ก เนื่องจากมีรูปร่างเล็ก มีอัตราการเผาผลาญที่เร็ว และน้ำตามผิวหนังของร่างกายระเหยได้ง่าย ทำให้มีปริมาณเหงื่อที่ค่อนข้างมาก อีกทั้งข้อจำกัดในการสื่อสารด้วยภาษาและความสามารถในการดูแลตนเอง จึงไม่สามารถดื่มน้ำ พักผ่อน และเช็ดเหงื่อได้อย่างเหมาะสม ส่วนเด็กที่โตกว่ามักจะถูกมองข้ามเรื่องอุณหภูมิสูงและความไม่สบายที่เกิดจากภาวะขาดแคลนน้ำในระหว่างทำกิจกรรม ตราบใดที่พบว่าร่างกายหรือสติสัมปชัญญะมีอาการผิดปกติ ก็อาจเป็นสัญญาณอาการของโรคลมร้อน

คุณอู๋ จาว จวิน อธิบดีกรมสุขภาพแห่งชาติได้เตือนว่า ให้พยายามหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านในช่วงเวลา 10:00 ในตอนเช้าจนถึง 14:00 ในช่วงบ่าย ลดอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากอุณหภูมิสูง พร้อมให้คำแนะนำวิธีสำหรับป้องกันโรคลมร้อนของเด็ก และลดความเสี่ยงจากโรคลมร้อนเพื่อคุ้มครองสุขภาพของร่างกาย

แต่งตัวบางเบา : การสวมใส่ให้เน้นเสื้อผ้าสีอ่อนและวัสดุที่ระบายอากาศได้ดี ให้เด็กสวมใส่เสื้อผ้าที่มีความหนาและสบายเหมือนกับผู้ใหญ่ และสำหรับการสวมใส่ของเด็กเล็ก ไม่แนะนำให้มีการห่อหุ้มร่างกายจนมากเกินไป

ป้องกันแดดและระบายอากาศ : เมื่อเดินทางออกไปข้างนอก ให้เลือกหมวกกันแดดที่สามารถป้องกันรังสียูวีและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแดดที่เหมาะสม เมื่อมีการใช้รถเข็น ควรเลือกแบบมีผ้ากันแดดที่ถ่ายเทอากาศได้ดี นอกจากนี้ เมื่อใช้ผ้าสะพายหรือสายสะพาย ควรเลือกวัสดุที่สบายและถ่ายเทอากาศได้ดีเป็นอันดับแรก ป้องกันความอับร้อน และเลือกจุดที่ร่มเย็นและอากาศถ่ายเทสำหรับการหยุดแวะพักผ่อน

ดื่มน้ำตลอดเวลา : ไม่ว่าจะอยู่กลางแจ้งหรือในร่ม ควรดื่มน้ำเป็นเวลาและปริมาณที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือน้ำเย็นในปริมาณมากในเวลาอันสั้น และดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลแทน เพื่อรักษาน้ำที่จำเป็นสำหรับร่างกายมนุษย์ รวมถึงป้องกันภาวะขาดแคลนน้ำ

ใส่ใจกับเด็กเล็ก : กรณีของโรงเรียนขนาดเล็ก (รถนักเรียน) ทุกครั้งที่ลงจากรถ จะต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าเด็กได้ลงจากรถแล้วหรือไม่ ป้องกันไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมจากการที่เด็กหลับในรถจนถูกลืมไว้ในรถ นอกจากนี้ กรณีของรถยนต์ส่วนตัว ห้ามทิ้งเด็กไว้ในรถตามลำพังและล็อกรถไว้โดยคิดว่าเด็กกำลังหลับหรือผู้ใหญ่จะลงไปทำธุระเพียงเวลาสั้น ๆ ควรพาเด็กลงจากรถด้วยกันเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้น หากระหว่างการทำกิจกรรมพบว่าร่างกายเด็กไม่สบาย ควรหยุดทันทีพร้อมให้หยุดพักและดื่มน้ำโดยเร็ว

เมื่อร่างกายของเด็กมีสัญญาณที่คล้ายกับโรคลมร้อน เช่น เหนื่อยเพลีย ความสามารถในการทำกิจกรรมลดลง ควรรีบออกจากสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงทันที หาวิธีลดอุณหภูมิร่างกาย (เช่น ถอดเสื้อผ้า และใช้น้ำเช็ดร่างกายหรือใช้พัดลมเป่า) ดื่มน้ำต้มสุกเย็นที่ใส่เกลือเล็กน้อยหรือเครื่องดื่มเกลือแร่ หากมีอาการเหงื่อออกปริมาณมาก หิวน้ำ คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะเล็กน้อย หน้ามืดหรือรู้สึกว่าจะหน้ามืด รวมถึงมีอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหงื่อหยุดไหล แก้มแดง ผิวหนังแห้งหรือขาดสติอย่างรุนแรงหรือหมดสติไปในที่สุด โปรดพบแพทย์โดยเร็วหรือติดต่อ 119 เพื่อส่งรักษาโดยด่วนที่สุด

กรมสุขภาพแห่งชาติขอเตือนประชาชนว่า ในขณะที่เตรียมความพร้อมในการป้องกันความร้อนให้แก่เด็ก ๆ แล้ว ผู้ปกครองเองก็ต้องใส่ใจกับสภาพร่างกายของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ดื่มน้ำเป็นเวลาและปริมาณที่เหมาะสม ใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ป้องกันแดด เพื่อให้ห่างไกลจากการเกิดโรคลมร้อน และเพื่อให้เด็ก ๆ มีช่วงวันหยุดปิดเทอมภาคฤดูร้อนซัมเมอร์ที่สนุกและสุขภาพดี


top