按 Enter 到主內容區
:::

回培力新住民資訊網首頁

ข้อมูลข่าวสารการดำรงชีวิตในไต้หวัน
:::

ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสอนวิธีจัดเก็บและกำจัดยาที่มีในบ้าน

  • 回上一頁
  • 友善列印
字型大小:
  • 地點:臺灣
  • 發布日期:
  • 單位:衛生福利部食品藥物管理署
  • 更新日期:2023/02/23
  • 點閱次數:68

ครอบครัวส่วนใหญ่จะมีตู้เก็บยาวางไว้เสมอ ตัวยาที่ใช้จัดเก็บกันทั่วไปเช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาแก้หวัด ยารักษาโรคทางเดินอาหาร ยาผิวหนัง ยารักษาบาดแผล เป็นต้น หรือยารักษาโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุในบ้าน เผชิญกับตัวยามากมายและวิธีการใช้ก็แตกต่างกัน จะมีวิธีการจัดเก็บยาที่ถูกต้องอย่างไร จึงจะมั่นใจในคุณภาพและประสิทธิภาพของตัวยาเหล่านี้?นอกจากนี้ ตัวยาที่หมดอายุและต้องการทิ้งจะมีวิธีการจัดการที่ถูกต้องอย่างไร?ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(ด้านล่างเรียกย่อว่าคณะกรรมการอาหารและยา)มาช่วยคุณค้นหาคำตอบ

บรรจุภัณฑ์ยาให้คงไว้สภาพเดิมหลีกเลี่ยงจากแสงแดดและความชื้น เวลาที่จัดเก็บยาควรมีวิธีปฏิบัติที่สอดคล้องตามวิธีการบรรจุยาที่แตกต่างกัน เช่น บรรจุภัณฑ์ PTPทั่วไป(Press Through Package หรือเรียกบรรจุภัณฑ์กดทะลุ)เพื่อป้องกันตัวยาจากความชื้น ดังนั้นทุกครั้งที่ใช้ยาควรกดแค่จำนวนยาที่ใช้เท่านั้น อย่าให้บรรจุภัณฑ์ส่วนอื่นเสียหายซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานในการแยกอากาศของบรรจุภัณฑ์ ขวดยาหลังการใช้งานควรปิดฝาให้แน่นทุกครั้ง สำหรับชุดยาที่ทางคลินิกจัดเตรียมไว้เภสัชกรจะดำเนินการจ่ายและจัดส่งให้ครบถ้วนตามใบสั่งแพทย์ ดังนั้นหลังฉีกซองยาแล้วควรรับประทานยาในซองให้หมดทันที ซองยาที่ยังไม่ได้ใช้ระมัดระวังอย่าให้ฉีกขาด และให้ใส่ซองยาไว้ในถุงซิปเพื่อป้องกันความชื้น หากใช้ยาเป็นนิสัยแนะนำให้จัดเตรียมยาสำหรับใช้ในหนึ่งอาทิตย์ และตรวจสอบแน่ใจว่าปิดกล่องแน่นสนิทแล้ว

โดยทั่วไปควรเก็บยาไว้ในอุณหภูมิห้อง เว้นแต่บนซองหรือบนภาชนะบรรจุขวดจะระบุไว้เป็นอย่างอื่นหรือมีการเตือนพิเศษจากเภสัชกรที่ต้องเก็บไว้ในตู้เย็น(2-8℃) มิฉะนั้นการเก็บไว้ในตู้เย็นจะทำให้ตัวยาชื้นและเสื่อมสภาพได้ง่าย นอกจากนี้ การสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงหรือวางไว้ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนและชื้นจะทำให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ระมัดระวังในการเก็บจึงจะมั่นใจในคุณภาพของตัวยา

รูปแบบตัวยามีหลายร้อยชนิด วิธีการจัดเก็บก็แตกต่างกัน

(1)ยาเม็ดหรือแคปซูล : พยายามเก็บไว้ในบรรจุภัณฑ์เดิม สำหรับอายุการเก็บรักษาแนะนำให้นับตั้งแต่วันที่เปิดบรรจุภัณฑ์หรือวันที่ได้รับตัวยามาขอให้รับประทานให้หมดภายในครึ่งปี

(2)ยาใช้ภายนอก: ยาใช้ภายนอกหลังเปิดใช้สามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องได้นานถึงครึ่งปี แต่ไม่แนะนำให้แยกใส่ในขวดเล็ก หากรูปลักษณ์ภายนอกของผลิตภัณฑ์ยามีความเสียหาย ตัวครีมเปลี่ยนสี แข็งหรือเหม็น เป็นต้น ให้หลีกเลี่ยงการใช้งาน

    (3)ยาใช้สำหรับดวงตา :ยาหยอดตา(ครีม)แนะนำให้ทิ้งไปหลังเปิดใช้แล้ว 1 เดือน ยาหยอดตาบางชนิดต้องเก็บไว้ในตู้เย็น

(4)ยาชนิดน้ำ : ยาน้ำเชื่อมอาจตกตะกอนเมื่อวางไว้ในตู้เย็น แนะนำวางไว้ในอุณหภูมิห้อง หลังเปิดใช้ครั้งที่รักษาพยาบาลหากใช้ไม่หมดให้ทิ้งไป ยาน้ำเชื่อมชนิดผงแห้งจะแตกต่างกันไปตามยาชนิดต่างๆ โปรดอ่านคำแนะนำบนผลิตภัณฑ์อย่างละเอียดเพื่อสะดวกในการจัดเก็บ

    (5)ยาชนิดผง:เนื่องจากตัวยาได้รับผลกระทบจากการบดทำให้เกิดความชื้นและเสื่อมสภาพง่าย แนะนำให้ใช้ภายในจำนวนวันที่แพทย์กำหนดให้เท่านั้น หากใช้ไม่หมดให้ทิ้งไป

(6)ยาเหน็บ:นอกจากมีการระบุไว้ควรเก็บไว้ในตู้เย็น กรุณาเก็บยาเหน็บพร้อมถุงยาที่ให้มาไว้ในอุณหภูมิห้องที่แห้งและเย็น หากตัวยาเสื่อมสภาพหรือลักษณะภายนอกเปลี่ยนไป ไม่แนะนำให้ใช้อีก

 (7)อินซูลิน:หากยังไม่เปิดใช้งานให้เก็บไว้ในตู้เย็น สามารถเก็บไว้ตามกำหนดเวลาการใช้งานที่อยู่บนบรรจุภัณฑ์ หากเปิดใช้แล้วหรือใช้บ่อยให้ดูตามยี่ห้อของตัวยานั้น โดยปกติแล้วสามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องต่ำกว่า30℃ได้นาน4-6สัปดาห์

การทิ้งยาที่ไม่ได้ใช้มี 3 ขั้นตอน“วาง เท ทิ้ง”ยาที่หมดอายุหรือที่จะทิ้งนั้น นอกจากผลิตภัณฑ์ยาพิเศษเช่น ยาฉีด ยาต้านมะเร็ง ยาปฏิชีวนะ ยาฮอร์โมน และยาควบคุม ที่จำเป็นต้องนำกลับไปที่โรงพยาบาลเพื่อรีไซเคิลแล้ว ยาสามัญประจำบ้านทั่วไปสามารถกำจัดได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้:

ในส่วนของยาน้ำมี 3 ขั้นตอน:

(1)วาง:ใช้วัตถุที่ดูดซับน้ำ เช่น ทราย กากกาแฟ ทรายแมว ใบชา หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ใส่ในถุงซิปหรือถุงพลาสติก

(2)เท :เทยาน้ำลงไปในถุงแน่ใจว่าปิดปากถุงสนิทแล้ว

(3)ทิ้ง :นำถุงที่ปิดสนิททิ้งรถขยะซึ่งจัดการเผาเหมือนขยะทั่วไป ตามระเบียบข้อบังคับบรรจุภัณฑ์หรือภาชนะบรรจุยาอื่นๆ จะถูกทิ้งขยะรีไซเคิล

ยาแคปซูลและยาเม็ดสามารถทิ้งลงในถุงขยะทั่วไปได้โดยตรง จัดการเหมือนการเผาขยะทั่วไป

คณะกรรมการอาหารและยาแถลงย้ำ ประชาชนหากมีปัญหาเกี่ยวกับยาที่เกี่ยวข้อง สามารถปรึกษาสอบถามเภสัชกร เภสัชกรจะอธิบายวิธีการใช้และการเก็บรักษา ประชาชนสามารถทำความแน่ใจจากซองยาหรือใบสั่งยาถึงการเก็บรักษายาแต่ละชนิดและระมัดระวังอายุการเก็บรักษาของตัวยานั้น นอกจากนี้ ยาที่ต้องการทิ้งสามารถจัดการผ่าน3ขั้นตอน “วาง เท ทิ้ง”ขอให้ท่านปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นเพื่อจัดการยาสามัญประจำบ้านอย่างเหมาะสมและอ่านข้อมูลบนซองยาเป็นนิสัยก็จะสามารถดูแลความปลอดภัยในการใช้ยาได้ อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการจัดการยาที่ไม่ได้ใช้อีกด้วย


top