按 Enter 到主內容區
:::

回培力新住民資訊網首頁

สำรวจความต้องการเกี่ยวกับการดำรงชีวิต
:::

รายงานผลสรุปการสำรวจความต้องการในการใช้ชีวิตของผู้พำนักใหม่ปี2018

  • 回上一頁
  • 友善列印
字型大小:
  • 地點:臺灣
  • 發布日期:
  • 單位:內政部移民署
  • 更新日期:2020/07/28
  • 點閱次數:568

กระทรวงมหาดไทยจัดมาตรการดูแลผู้พำนักใหม่ ในปี2003จัดประชุมหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ“งานวิจัยดูแลให้คำปรึกษาคู่สมรสชาวต่างชาติและคู่สมรสชาวจีนแผ่นดินใหญ่”ตามมติในที่ประชุมให้จัดการสำรวจสภาพการใช้ชีวิตโดยรวมของผู้พำนักใหม่ หลังการสำรวจครั้งแรกในปี2003 ทุกๆ5ปีจะทำการสำรวจหนึ่งครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่4ที่สำรวจเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของผู้พำนักใหม่ในไต้หวัน มาตรการดูแลต่างๆสำหรับผู้พำนักใหม่ตั้งแต่ปี2003ถึงปัจจุบัน ผ่านการแก้ไขหลายครั้ง ในแต่ละหัวข้อกฎหมายด้านการจัดหาจ้างงานและการใช้ชีวิตสำหรับผู้พำนักใหม่ในไต้หวันที่มีการแก้ไขตามกาลเวลา โดยการควบคุมและการจัดการด้วยมุมมองที่มีการเปิดกว้างมากขึ้น บรรยากาศทางสังคมโดยรวม คุณภาพการสมรสข้ามชาติคุณสมบัติของทั้งสองฝ่ายมีความสมบูรณ์ขึ้น จากการสำรวจต่อเนื่องยิ่งทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพของผู้พำนักใหม่

ขอบเขตการสำรวจครั้งนี้อยู่ในเขตพื้นที่เทศบาล เขตปริมณฑล(เมือง)ของไต้หวัน ช่วงเวลาทำการสำรวจเริ่มตั้งแต่วันที่21 สิงหาคมสิ้นสุดถึง20 ธันวาคม 2018 นอกจากนี้ระหว่าง13 พฤษภาคม- 30 มิถุนายน 2019 ได้สำรวจตัวอย่างเพิ่มเติม การสำรวจเสร็จสิ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2017 เป้าหมายสำรวจเป็นคู่สมรสชาวต่างชาติที่มีใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่ ,ใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่ถาวร คู่สมรสชาวต่างชาติที่แปลงสัญชาติเป็นพลเมืองไต้หวันแล้ว และคู่สมรสชาวจีนแผ่นดินใหญ่ มาเก๊า และฮ่องกงที่มีทะเบียนบ้านหรือตั้งถิ่นฐานและมีถิ่นที่อยู่ในไต้หวัน ไม่รวมผู้พำนักใหม่ที่ออกนอกประเทศนานกว่า 2 ปีขึ้นไป รวมการสำรวจผู้พำนักใหม่ตัวอย่างที่มีผลใช้งานจำนวน18,260 ราย ผ่านการสำรวจประจำปี ได้เข้าใจถึงการปรับตัวการใช้ชีวิตในไต้หวัน การปรองดองกันในครอบครัว การหางานจ้างงาน และการอบรมเลี้ยงดูบุตรของผู้พำนักใหม่ ได้สำรวจความต้องการของผู้พำนักใหม่ที่จะใช้ปรับตัวในชีวิตอย่างละเอียด เพื่อใช้เป็นข้อพิจารณาสำหรับนโยบายรัฐ,ส่งเสริมผลักดันหน่วยงานที่จะให้บริการในอนาคต ด้วยมุมมองที่เอื้อหนุนให้ก้าวสู่สภาพแวดล้อมทางสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างมีคุณภาพ ปฏิบัติต่อผู้พำนักใหม่ที่สมรสอย่างเท่าเทียมกันยิ่งขึ้นเพื่อส่งเสริมความเติบโตร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ สรุปผลรายงานสำคัญจากการสำรวจครั้งนี้ได้ดังนี้

1. อัตลักษณ์กลุ่มผู้พำนักใหม่

ครั้งนี้จากการสำรวจผู้พำนักใหม่จำนวน 18,260 รายเป็นตัวอย่างที่มีผลถูกต้องนำมาวิเคราะห์ดังนี้:

(1) ข้อมูลพื้นฐาน

จำนวนผู้พำนักใหม่ในไต้หวันส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง(ร้อยละ92.5) อายุระหว่าง 35 ปี-54 ปี(ร้อยละ70.1) ก่อนมาไต้หวันการศึกษาระดับมัธยมต้น (ร้อยละ30.3) มัธยมปลาย(อาชีวศึกษา) (ร้อยละ34.3) ส่วนใหญ่ระดับการศึกษาปานกลาง ร้อยละ10.0 ของผู้พำนักใหม่หลังมาไต้หวันแล้วได้รับวุฒิการศึกษาในไต้หวัน จำนวนร้อยละ96.3 มีสุขภาพแข็งแรง จากการเปรียบเทียบระหว่างปีพบว่า ผู้พำนักใหม่ในไต้หวันส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง การสำรวจในปีนี้มีผู้พำนักใหม่เพศชายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย กลุ่มวัยหนุ่มสาวอายุ15-24ปีมีแนวโน้มลดลง โครงสร้างอายุระหว่าง35-54ปีส่วนใหญ่เป็นหญิงวัยเจริญพันธุ์

(2) สถานะทางสมรสและการพำนักอาศัยในไต้หวัน

ผู้พำนักใหม่ที่อาศัยอยู่ในไต้หวัน10ปีขึ้นไปร้อยละ64.6 เป็นคู่สมรสจากประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้(ร้อยละ66.7) และคู่สมรสจากพื้นที่จีนแผ่นดินใหญ่(ร้อยละ66.1) คู่สมรสจากประเทศอื่นที่อาศัยอยู่ในไต้หวันน้อยกว่า5ปีอยู่ที่ร้อยละ25.4 ผู้พำนักใหม่ที่ยังคงสถานภาพการสมรสร้อยละ 90.1 การแต่งงานข้ามชาติจากการแนะนำของญาติมิตรประเทศบ้านเกิดร้อยละ 34.1 รองมาจากการรู้จักจากสถานที่ทำงานร้อยละ21.5 คู่สมรสชาวต่างชาติและคู่สมรสชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่ผ่านการแนะนำจากญาติมิตรประเทศบ้านเกิดมีอัตราค่อนข้างสูง เป็นร้อยละ 32.2และร้อยละ 39.5ตามลำดับ และคู่สมรสจากประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านการแนะนำจากการบริการจัดหาคู่(ร้อยละ 29.2) จะสูงกว่าสัญชาติอื่น ประเทศอื่นเช่นคู่สมรสชาวฮ่องกงและมาเก๊าผ่านการรู้จักจากสถานที่ทำงานเป็นอัตราร้อยละ 37.4และร้อยละ 27.4ตามลำดับ

จากการสำรวจระหว่างปี ผู้ที่อาศัยในไต้หวันนานกว่า10ปีขึ้นไป ตั้งแต่ปี2013 ที่สำรวจได้ร้อยละ 44.4 ปรับเพิ่มขึ้นในปีนี้เป็นร้อยละ 64.6 จำนวนนั้นมีผู้พำนักใหม่ที่อาศัยอยู่ในไต้หวันเป็นเวลานานกว่า20ปีขึ้นไปมีร้อยละ 12.6 ประสบการณ์ชีวิตเริ่มนับตั้งแต่การปรับตัวในการใช้ชีวิต การอบรมเลี้ยงดูบุตรธิดาจนเติบใหญ่ เริ่มต้นเผชิญกับครอบครัว การเสียชีวิตหย่าร้างของคู่สมรส จากการสัมมนาอภิปรายจะเห็นถึงหัวข้อสิทธิผลประโยชน์การสืบทอดมรดก และการจัดแบ่งมรดกในครอบครัว ซึ่งเป็นประเด็นคำถามใหม่ในชีวิตของผู้พำนักใหม่ และผู้พำนักใหม่ส่วนหนึ่งยังคงเผชิญกับปัญหาดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวอีกด้วย

2.ภาพรวมการใช้ชีวิตในไต้หวัน

ใบอนุญาตขับขี่รถเป็นใบอนุญาตสำคัญสำหรับผู้พำนักใหม่ที่ใช้ชีวิตในไต้หวัน ใบอนุญาตขับขี่รถมอเตอร์ไซต์ในหนึ่งร้อยคนมี 59 คน ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ในหนึ่งร้อยคนมี 38 คน สำหรับคู่สมรสชาวจีนแผ่นดินใหญ่จะมีใบอนุญาตด้านความชำนาญในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง(ในหนึ่งร้อยคนมี9คน) การสำรวจระหว่างปีจะเห็นถึงมาตรการของไต้หวันที่ให้คำปรึกษาดูแลผู้พำนักใหม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมสอบใบอนุญาตขับขี่รถ และมาตรการสอบใบอนุญาตด้วยภาษาหลากหลายที่ประสบความสำเร็จ อัตราการได้ใบอนุญาตขับขี่ก่อนหน้านั้นเพิ่มขึ้นทุกปี ไม่ว่าจะเป็นใบอนุญาตขับขี่รถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซต์ การสำรวจล่าสุดสามครั้งที่ผ่านมาอัตราเฉลี่ยการสอบได้เพิ่มขึ้นในหนึ่งร้อยคนมีประมาณ10คน

การทำประกันของผู้พำนักใหม่ในไต้หวัน ทำโดยประกันสุขภาพแห่งชาติมีอัตราส่วนมากที่สุดในหนึ่งร้อยคนมี 97คน สำหรับแรงงานที่ทำประกันแรงงานในหนึ่งร้อยคนมี 52คน ภาพรวมการทำประกันมีอัตราส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น สัดส่วนการทำประกันในปี2008จากร้อยละ16 และ ในปี2013 ร้อยละ30 เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ52แสดงถึงความคุ้มครองทางแรงงานที่มีต่อผู้พำนักใหม่เพิ่มขึ้น

3.สถานการณ์ทางแรงงาน

(1) การมีส่วนร่วมของแรงงาน

การสำรวจครั้งนี้จำนวน18,260 รายจากตัวอย่างที่มีผลใช้งาน แรงงานผู้พำนักใหม่เข้าร่วมเฉลี่ยถึงร้อยละ70.92 อัตราการว่างงานร้อยละ1.22 เปรียบเทียบกับแรงงานทั่วไปที่เข้าร่วมเมื่อห้าปีที่ผ่านมามีอัตราร้อยละ58.54~ร้อยละ58.99 สูงกว่าแรงงานทั่วไป และผู้พำนักใหม่อัตราปัญหาการว่างงานจะมีน้อยกว่า

(2) การจัดหาจ้างงาน

ผู้พำนักใหม่ประกอบอาชีพหลักส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมการผลิต(ร้อยละ31.7) กิจการที่พักและอาหารเครื่องดื่ม (ร้อยละ23.4) อาชีพส่วนใหญ่ทำงานด้านการบริการและพนักงานขาย (ร้อยละ37.0) ช่างฝีมือพื้นฐานและคนทำงานแรงงานเป็นหลัก(ร้อยละ26.4) รับจ้างจากนายจ้างส่วนบุคคลมีค่อนข้างมากที่ร้อยละ76.4 ผู้ที่ทำธุรกิจเองร้อยละ15.3 ด้านรายได้จากทำงานคิดเงินเดือนเป็นหลัก(ร้อยละ57.5) ส่วนใหญ่มีรายได้ 20,000-30,000เหรียญไต้หวัน(ร้อยละ52.1)

การเปรียบเทียบข้ามปี จากการสำรวจผู้พำนักใหม่4ครั้งการประกอบธุรกิจแนวโน้มมีความสอดคล้องกัน ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจด้านการบริการ มีอัตราสูงกว่าร้อยละ50 ปี2018ประกอบ “กิจการที่พักและอาหารเครื่องดื่ม” “ด้านการศึกษา”อัตราส่วนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อาชีพ2ประเภทใหญ่ที่สำรวจในปี2008 ได้แก่“ช่างฝีมือระดับล่างและคนทำงานแรงงาน” “พนักงานการตลาดและบริการ”ถึงปี2013 พบว่าอาชีพ“เจ้าหน้าที่ดำเนินการอุปกรณ์เครื่องจักรและบรรจุหีบห่อ”เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ปี2018และปี2013มีอัตราส่วนคล้ายกัน

เปรียบเทียบรายได้ข้ามปีจากการทำงานหลัก ปี2008 รายได้ต่ำกว่า20,000 เหรียญไต้หวันเป็นอัตราร้อยละ67.6 ปี2013 เป็นอัตราร้อยละ50.5 ปี2018ลดเป็นร้อยละ22.3 ภาพรวมเงินเดือนผู้พำนักใหม่ค่อยๆเพิ่มสูงขึ้น มากกว่าครึ่งในขั้นนี้รายได้อยู่ที่ 20,000-ต่ำกว่า30,000 เหรียญไต้หวัน และผู้พำนักใหม่ร้อยละ20รายได้จากการทำงาน30,000 เหรียญไต้หวันขึ้นไป

(3) ความพึงพอใจและอุปสรรคปัญหาที่ทำงาน

ผู้พำนักใหม่ร้อยละ89.8มีความพอใจกับงานที่ทำปัจจุบัน ผู้ไม่พอใจร้อยละ10.2 ภาพโดยรวม ผู้พำนักใหม่ที่ทำงานในไต้หวันไม่พบเจออุปสรรคมีถึงร้อยละ71.7 ผู้พบอุปสรรคจะมาจากปัญหาเงินเดือนน้อยเป็นสำคัญ(ในหนึ่งร้อยคนมี15คน) ระยะเวลาการทำงานยาวไป(ในหนึ่งร้อยคนมี7คน)เป็นอุปสรรคต่อการทำงานมากที่สุด รองมาการรู้ตัวหนังสือภาษาจีนกลางและความสามารถเขียนหนังสือมีไม่มาก (ในหนึ่งร้อยคนมี5คน) เวลาทำงานไม่สอดคล้องตามที่ครอบครัวต้องการ(ในหนึ่งร้อยคนมี4คน)การสื่อสารภาษาจีนค่อนข้างอ่อน (ในหนึ่งร้อยคนมี4คน) ตลาดงานไม่ให้ความเป็นมิตรหรือเลือกปฏิบัติ(ในหนึ่งร้อยคนมี4คน)

(4) ความต้องการฝึกอบรมและบริการจัดหาจ้างงาน

ช่องทางหางานของผู้พำนักใหม่ส่วนใหญ่มาจาก“การแนะนำของญาติมิตรชาวไต้หวัน(รวมคู่สมรส)” (ในหนึ่งร้อยคนมี40คน) “การแนะนำจากญาติมิตรชาติเดียวกันในไต้หวัน” (ในหนึ่งร้อยคนมี23คน) “ทำธุรกิจเอง” (ในหนึ่งร้อยคนมี16คน) กับ“หนังสือพิมพ์และโฆษณาประเภทต่างๆ” (ในหนึ่งร้อยคนมี14คน)มีค่อนข้างมาก ผู้พำนักใหม่ที่พบอุปสรรคในการหางานร้อยละ17.7 คู่สมรสชาวจีนแผ่นดินใหญ่พบเจออุปสรรคมีอัตราค่อนข้างสูง ปัญหาหลักเป็น“การเลือกปฏิบัติในสถานที่ทำงาน” (ในหนึ่งร้อยคนมี30คน) “นายจ้างจะใช้เหตุผลที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน,ไม่ยินยอมจ้างงาน” (ในหนึ่งร้อยคนมี29คน) คู่สมรสชาวต่างชาติกลับมีปัญหาหลักทางสื่อสารภาษา การรู้จักตัวหนังสือ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการหางานทำเป็นอัตราที่สูงในหนึ่งร้อยคนมี40คน

ความต้องการของผู้พำนักใหม่ต่อการบริการจัดหาจ้างงานส่วนใหญ่เป็น“การเข้าร่วมฝึกอบรมสายอาชีพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย” (ในหนึ่งร้อยคนมี21คน) และ“ระยะเวลาที่ฝึกอบรมสายอาชีพ,ให้เงินช่วยเหลือการฝึกฝนอาชีพ” (ในหนึ่งร้อยคนมี12คน)

(5) ความต้องการเงินช่วยเหลือและความต้องการเริ่มต้นทำธุรกิจ

สำหรับความต้องการเริ่มต้นทำธุรกิจ ปัจจุบันผู้พำนักใหม่อัตราร้อยละ15.9 มีความต้องการที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจ อุตสาหกรรมที่ผู้ตั้งใจเริ่มต้นทำธุรกิจคาดหวังจะทำ โดยคู่สมรสชาวจีนแผ่นดินใหญ่ และคู่สมรสจากประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่จะทำธุรกิจด้านที่พักและอาหารเครื่องดื่ม (ในหนึ่งร้อยคนมีมากกว่า56คน) อุตสาหกรรมการบริการอื่น(ในหนึ่งร้อยคนมีมากกว่า16คน) จากการสัมมนาพูดคุยพบว่าผู้พำนักใหม่ที่ทำธุรกิจในไต้หวันจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กส่วนใหญ่จะดูแลกิจการเอง ผู้พำนักใหม่จากประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบันจะลงทุนทำธุรกิจอาหารบ้านเกิดมากขึ้น ผู้พำนักใหม่จากจีนแผ่นดินใหญ่ในระยะแรกจะทำอีคอมเมิร์ซที่มีต้นทุนต่ำเป็นหลัก

หวังว่ารัฐบาลจะให้การสนับสนุนหัวข้อเงินช่วยเหลือการเริ่มต้นทำธุรกิจด้าน“เงินช่วยเหลือสินเชื่อการเริ่มต้นทำธุรกิจ”ในหนึ่งร้อยคนมีมากถึง 68 คน รองมา“ชั้นเรียนอบรมการเริ่มต้นทำธุรกิจ”ในหนึ่งร้อยคนมี 62 คน “ให้คำปรึกษาด้านการเริ่มต้นทำธุรกิจ”ในหนึ่งร้อยคนมี45 คน

4. ครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดูบุตร

(1) อัตลักษณ์คู่สมรสชาวไต้หวัน (พลเมืองไต้หวัน)

คู่สมรสชาวไต้หวัน (พลเมืองไต้หวัน) ส่วนใหญ่ระดับการศึกษาปานกลางและสูง(ระดับมัธยมปลายอาชีวะร้อยละ40.2) สมรสครั้งแรกร้อยละ76.9 คู่สมรสชาวไต้หวัน(พลเมืองไต้หวัน) สมรสครั้งที่2กับคู่สมรสจากประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และชาวจีนแผ่นดินใหญ่มีอัตราเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ20 เป็นอัตราร้อยละ20.7และร้อยละ26.1ตามลำดับ

คู่สมรสชาวไต้หวัน(พลเมืองไต้หวัน)ที่รับการสัมภาษณ์มีอาชีพการทำงานร้อยละ82.8 และมีรายได้จากการทำงานเป็นหลัก ส่วนใหญ่เป็นด้านอุตสาหกรรมการผลิต(ร้อยละ31.1) โครงการการก่อสร้าง (ร้อยละ13.5) การค้าส่งและค้าปลีก(ร้อยละ11.6) อาชีพส่วนใหญ่เป็นพนักงานขายและบริการ(ร้อยละ20.5) เจ้าหน้าที่ดำเนินการอุปกรณ์เครื่องจักรและบรรจุหีบห่อ(ร้อยละ17.3) ส่วนใหญ่โดยเฉลี่ยทุกเดือนมีรายได้“30,000-ต่ำกว่า40,000เหรียญไต้หวัน”(ร้อยละ26.8) และ“20,000-ต่ำกว่า30,000เหรียญไต้หวัน” (20.1%) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 38,654 เหรียญไต้หวัน

(2) ภูมิหลังทางเศรษฐกิจสังคมและครอบครัว

โครงสร้างหลักของครอบครัวผู้พำนักใหม่ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย (ร้อยละ54.5) รองลงมาเป็นครอบครัวผสม(ร้อยละ34.3) เปรียบเทียบระหว่างปี โครงสร้างของครอบครัวส่วนใหญ่จะเหมือนกัน แนวโน้มไปสู่การพัฒนาแบบครอบครัวขยาย แต่ละครอบครัวมีอัตรารายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากสุด “50,000-ต่ำกว่า60,000เหรียญไต้หวัน” (ร้อยละ15.3) รองลงมา“40,000-ต่ำกว่า50,000เหรียญไต้หวัน”(ร้อยละ12.8) โดยรวมรายได้ครอบครัวต่อเดือนเฉลี่ย52,574เหรียญไต้หวัน เทียบกับครอบครัวธรรมดารายได้ต่อเดือนเฉลี่ย109,204 เหรียญไต้หวัน ทางด้านเศรษฐกิจครอบครัวผู้พำนักใหม่เทียบแล้วค่อนข้างจะอ่อนกว่า ครอบครัวผู้พำนักใหม่มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ยต่ำกว่า40,000เหรียญไต้หวันจากร้อยละ55.9 ในปี2008 จากร้อยละ49.8 ในปี2013 ถึงปี2018ลดเป็นร้อยละ34.1 รายได้ครอบครัวต่อเดือนเฉลี่ย50,000-100,000เหรียญไต้หวัน เมื่อเทียบกับการสำรวจปี2008กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รายได้เฉลี่ยครอบครัวต่อเดือนเมื่อเทียบปี2013ที่สำรวจเพิ่มขึ้น6,401เหรียญไต้หวัน

(3) การเลี้ยงดูอบรมดูแลบุตรธิดา

ผู้พำนักใหม่ที่สำรวจครั้งนี้สมรสแล้วมีบุตรธิดาร้อยละ76.3 ส่วนใหญ่มีบุตร2 คน(ร้อยละ36.9) ภาพโดยรวมผู้พำนักใหม่ที่คลอดบุตรเฉลี่ย1.3คน การสำรวจครั้งนี้ผ่านการเข้าเยี่ยมสัมภาษณ์ผู้พำนักใหม่ จำนวนทายาทบุตรธิดาผู้พำนักใหม่ข้อมูลรวม23,567คน ตามข้อมูลการสำรวจแสดงว่า เป็นบุตรธิดาผู้พำนักใหม่ที่อยู่ในวัยก่อนเรียนและวัยประถมศึกษาร้อยละ54.5 โดยอยู่อาศัยระยะยาวในไต้หวันร้อยละ98.2 เปรียบเทียบระหว่างปี ทำการสำรวจผู้พำนักใหม่3ครั้ง ผู้ที่ไม่กำเนิดบุตรมีอัตราลดลงต่อเนื่อง จากปี2003 อัตราที่ร้อยละ41.0 ถึงปี2018ลดลงร้อยละ 23.7 ให้กำเนิดบุตร2คนขึ้นไปมีอัตราเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อัตราเฉลี่ยจำนวนคนเกิดแสดงถึงแนวโน้มที่เติบโตเช่นกัน

ดูจากข้อมูลการสำรวจร้อยละ 73.4ของผู้พำนักใหม่ยินยอมให้บุตรธิดาเรียนภาษาแม่ในโรงเรียน และร้อยละ26.7บุตรธิดาผู้พำนักใหม่ที่มีอายุ16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปที่กำลังเตรียมตัวหรือเข้าสู่ตลาดแรงงานแล้ว สำหรับอนาคตความหวังของบุตรธิดา ผู้พำนักใหม่สนับสนุนให้บุตรธิดาไปหางานที่ประเทศเดิมของผู้พำนักใหม่เป็นร้อยละ53.2 ไม่สนับสนุนร้อยละ46.8 ผู้พำนักใหม่มีการศึกษามากเท่าไหร่ ระยะเวลาอยู่ในไต้หวันน้อยอัตราการสนับสนุนจะเพิ่มตามขึ้น

5.สภาพปรับตัวการใช้ชีวิต

(1) ความสามารถทางภาษาจีนกลาง

ผู้พำนักใหม่จะฟังและพูดได้ดีกว่าการเขียนอ่าน สำหรับคู่สมรสชาวเอเซียตะวันออกเฉียงใต้การสื่อสารทางภาษาเป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวมากที่สุด ความสามารถด้านการพูดและฟังจะไปตามวัย อาศัยในไต้หวันนานเท่าไหร่ ความสามารถจะเพิ่มขึ้นความแตกต่างจะน้อยลง ด้านการพูดการฟัง ฟังจะดีกว่าอ่าน ในชีวิตประจำวันใช้ภาษาจีนกลางเป็นภาษาหลัก (ในหนึ่งร้อยคนมี97คน) รองลงมาจะเป็นภาษาหมิ่นหนาน และภาษาแม่ (ในหนึ่งร้อยคนมี19คน) อนาคตจะให้บริการช่องทางและข่าวสารแก่ผู้พำนักใหม่ อาทิ ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตหลันเหรินเปา คำอธิบายทางกฎหมายและภาษี เป็นต้น โดยใช้วิธีการถ่ายทอดผ่านภาษา เสียง วีดีทัศน์ ซึ่งจะมีประสิทธิผลกว่าการถ่ายทอดด้วยตัวอักษร หรือการเขียน

(2) อุปสรรคที่มีกับการใช้ชีวิตในไต้หวัน

การวิจัยครั้งนี้เป็นการสำรวจผู้พำนักใหม่ที่ประสบปัญหาการใช้ชีวิตในไต้หวัน สำหรับปัญหาที่ผู้พำนักใหม่พบเจอในชีวิต รวมถึงชีวิตส่วนตัวทุกประเภท สิทธิและผลประโยชน์ ครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ผลจากการสำรวจพบว่า ผู้ที่พบเจออุปสรรค เหตุผลหลักจะเป็น“ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ”ในหนึ่งร้อยคนมี16คน “สิทธิการใช้ชีวิตในไต้หวัน”ในหนึ่งร้อยคนมี8คน “ปัญหาการทำงานของตัวเอง”ในหนึ่งร้อยคนมี 5 คน

(3) ความเข้าใจกันในครอบครัว

ผู้พำนักใหม่มีความเข้าใจกันในครอบครัว ไม่มีปัญหาร้อยละ95.1 ส่วนใหญ่เป้าหมายที่มีปัญหาเป็นคู่สมรส (ร้อยละ2.7) บิดามารดาของคู่สมรส(ร้อยละ2.1) บุตรธิดา(ร้อยละ1.0) จากการสำรวจทั้ง3ครั้ง พบว่าอัตราส่วนจากบิดามารดาคู่สมรสลดลงต่อเนื่อง เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของครอบครัวที่มีแนวโน้มเปลี่ยนไปทางครอบครัวขยาย ตามด้วยบุตรธิดาที่เข้าศึกษาและเข้าสังคม การอยู่ร่วมกันและการพูดคุยของผู้พำนักใหม่กับบุตรธิดาในอนาคตจะค่อยๆเปลี่ยนจากการเรียนและการฝึกหัด ปัญหาพฤติกรรมการเลี้ยงดู ไปสู่ปัญหาการจ้างงาน ในอนาคตยังต้องติดตามการพัฒนาของบุตรธิดาต่อไป

(4) เครือข่ายสนับสนุนทางสังคมต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สิทธิผลประโยชน์ และความปลอดภัยส่วนบุคคล

ผลการสำรวจแสดงให้เห็นเมื่อเจอปัญหาชีวิตประจำวัน สิทธิผลประโยชน์ และความปลอดภัยส่วนบุคคลนั้น ช่องทางหลักที่ให้ความช่วยเหลือ คู่สมรส(มาอันดับแรก76.4) เพื่อนร่วมบ้านเกิดหรือญาติมิตรชาวไต้หวัน ญาติพี่น้อง( 20.5และ18.9ตามลำดับ) หน่วยงานราชการ อาทิ สถานีตำรวจนครบาล/สถานีตำรวจสาขา ที่ทำการแต่ละเขตเมือง กำนันผู้ใหญ่บ้าน ศูนย์ป้องกันความรุนแรงในครอบครัว สายด่วนคุ้มครอง113 ศูนย์ห่วงใยดูแลครอบครัวผู้พำนักใหม่ เป็นต้นตามลำดับ และด้วยระยะเวลาที่ผู้พำนักใหม่ใช้ชีวิตอยู่ในไต้หวันนานมากขึ้น การพึ่งพาคู่สมรสและบิดามารดาของคู่สมรสจะลดตามไป

(5) ช่องทางที่มาของข่าวสาร

ช่องทางข่าวสารของผู้พำนักใหม่ที่รัฐออกมาตรการดูแล “หน่วยงานราชการ”และ“แบ่งปันให้ญาติมิตรร่วมบ้านเกิดและผู้พำนักใหม่ชาติอื่นๆ ”(ในหนึ่งร้อยคนมี17คน) เป็นช่องทางข่าวสารที่สำคัญที่สุดของผู้พำนักใหม่ รองมาเป็น“ทราบข่าวจากญาติมิตรไต้หวัน,เพื่อนหรือเพื่อนร่วมงาน” (ในหนึ่งร้อยคนมี15คน) ในจำนวนผู้ที่ทราบมาตรการที่รัฐดูแล วิธีรับข่าวสารโดย“ญาติมิตรบอกให้ทราบ,บอกต่อกันมา” (ในหนึ่งร้อยคนมี55คน)ซึ่งเป็นวิธีสำคัญในการรับข่าวสารของผู้พำนักใหม่ รองมาเป็น“การแนะนำเว็บไซต์เครือข่ายสังคมที่เกี่ยวกับผู้พำนักใหม่(ไลน์LINE,เฟสบุ๊คFB)” (ในหนึ่งร้อยคนมี23คน) “ค้นหาบนอินเทอร์เน็ต(ไม่ใช่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ)” (ในหนึ่งร้อยคนมี22คน) และ“ประกาศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและDMใบโปสเตอร์” (ในหนึ่งร้อยคนมี18คน)

6.ความต้องการที่มีต่อแต่ละหัวข้อมาตรการดูแล

(1) การมีส่วนร่วมในมาตรการบริการดูแล

การเข้าร่วมในมาตรการบริการดูแล ผู้ที่เคยเข้าร่วมมาตรการบริการดูแลของรัฐ มาตรการที่เข้าร่วม“การสอบใบอนุญาตขับขี่รถ”มีมากที่สุด (ในหนึ่งร้อยคนมี39คน) รองมาเป็น“โรงเรียนเสริมระดับประถมมัธยมศึกษา” (ในหนึ่งร้อยคนมี10คน) “ชั้นเรียนการศึกษาผู้ใหญ่เบื้องต้น,ชั้นเรียนเรียนรู้ตัวหนังสือ” (ในหนึ่งร้อยคนมี9คน)

ตามผลการสำรวจแสดงให้เห็น ผู้พำนักใหม่ร้อยละ45.8ไม่เคยร่วมในมาตรดูแลใดๆ ส่วนใหญ่เหตุผลที่ไม่เข้าร่วมคือ“ต้องการทำงาน” “ต้องดูแลครอบครัวและบุตร” (ให้ความสำคัญมากกว่า16) รองลงมาเป็น“ไม่มีความสนใจ” (ให้ความสำคัญ9.2) “งานบ้านทำอาหาร” (ให้ความสำคัญ9.0)

(2) หลักสูตรที่ต้องการที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิต

หลักสูตรที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตที่มีระดับความต้องการสูงสุด“การอบรมภาษา, การรู้จักตัวหนังสือ” (ในหนึ่งร้อยคนมี13คน) “ทักษะการดูแลสุขภาพ (เกี่ยวกับทักษะและความรู้ทางการแพทย์เบื้องต้นสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย) (ในหนึ่งร้อยคนมี7คน) ” “การอบรมผู้ปกครองและบุตร,ความรู้ทั่วไปในการเลี้ยงดูทารก(ในหนึ่งร้อยคนมี5คน)”

(3) ความต้องการมาตรการดูแลทางแพทย์และสุขภาพ

มาตรการดูแลทางการแพทย์และสุขภาพที่ต้องการ“เงินช่วยเหลือทางการแพทย์” (14.7) เป็นความต้องการอันดับแรกสุด รองมา“ช่วยเหลือเข้าร่วมในประกันสุขภาพแห่งชาติ” (5.4) “บริการตรวจสุขภาพเด็กทารกเด็กเล็ก” (4.7) “ความรู้เรื่องโรคและโรคติดต่อ” (4.6)

(4) ความต้องการมาตรการดูแลการใช้ชีวิต

ความต้องการของผู้พำนักใหม่ที่มีต่อมาตรการดูแลใช้ชีวิต โดย“คุ้มครองสิทธิผลประโยชน์การจ้างงาน” (15.9)เป็นความต้องการแรกสุด ลำดับต่อมา“จัดตั้งหน่วยบริการพิเศษสำหรับผู้พำนักใหม่”โดยมีหัวหน้าหน่วยเปิดช่องทางบริการแบบช่องทางเดียวหรือเฉพาะสำหรับผู้พำนักใหม่(14.5)“จัดช่องหน้าต่างสอบถามบริการให้แก่ผู้พำนักใหม่”(โดยหน่วยงานสามารถเพิ่มช่องหน้าต่างบริการสอบถามข่าวสารแต่ละประเภทให้แก่ผู้พำนักใหม่ โดยให้ข้อมูลหลากหลาย อาทิ การให้คำปรึกษาข้อมูลการใช้ชีวิต ข้อมูลการจ้างงาน การดูแลประกันสุขภาพ และการเลี้ยงดูเด็กทารกเด็กเล็ก)」(13.2)。

top