按 Enter 到主內容區
:::

回培力新住民資訊網首頁

กฎหมาย
:::

ความฝันในการมีบัตรประชาชนไต้หวันจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป รัฐมีการปรับลดหลักเกณฑ์การให้สัญชาติโดยสละสัญชาติเดิม

  • 回上一頁
  • 友善列印
字型大小:
  • 地點:Taiwan
  • 發布日期:
  • 單位:National Immigration Agency, Ministry of the Interior
  • 更新日期:2020/07/28
  • 點閱次數:7093

มีการปรับแก้ไขข้อกำหนดในพระราชบัญญัติสัญชาติในปี 2016 โดยมีการปรับลดข้อกำหนดหลักเกณฑ์การให้สัญชาติโดยสละสัญชาติเดิมให้สามารถตรวจสอบชั่วโมงเรียนและเกณฑ์การให้คะแนนเป็นต้น ให้ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ได้รับบัตรประชาชนได้ง่ายยิ่งขึ้น


พระราชบัญญัติสัญชาติฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี 2016

มีการปรับแก้ไขร่างพระราชบัญญัติสัญชาติในวันที่ 21 ธันวาคม ปี 2016 โดยมีแก้ไขดังต่อไปนี้

1.คู่สมรสชาติต่างชาติไม่ต้องใช้หลักฐานทางการเงินในการขอสัญชาติ

2.คู่สมรสชาติที่ไม่ได้สมรสใหม่เนื่องจากเกิดเหตุความรุนแรงในครอบครัวหรือคู่สมรสเสียชีวิต และยังมีการติดต่อกับญาติของคู่สมรสที่เสียชีวิตแล้วหรือต้องเลี้ยงดูบุตรสัญชาติไต้หวันที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะที่ยื่นขอสละสัญชาติเดิมเพื่อถือสัญชาติไต้หวันสามารถอยู่ในไต้หวันได้จาก 5 ปีลดเหลือ 3 ปี

3.แก้ไขการสละสัญชาติของชาวต่างชาติเป็นการออกใบอนุญาติพำนักก่อนแล้วจึงยื่นส่งหลักฐานสละสัญชาติเดิม

4.ผู้ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศหรือมีทักษะพิเศษที่ขอรับสัญชาติไม่จำเป็นต้องสละสัญชาติเดิม

5.ก่อนตัดสินสละสัญชาติเดิม กระทรวงมหาดไทยจะเปิดประชุมทบทวนเพื่อให้ผู้นั้นมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น เว้นแต่ว่าศาลได้ตัดสินว่ามีการสมรสเท็จหรือรับเลี้ยงผู้สละสัญชาติเดิม (หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปที่ เว็บไซต์ของเราที่ “ขั้นตอนการสละสัญชาติเดิมเพื่อขอรับสัญชาติใหม่อย่างเป็นธรรม” )


กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพำนักของคู่สมรสชาวต่างชาติและจะยื่นขอสละสัญชาติเดิมเพื่อรับสัญชาติไต้หวันได้อย่างไร?

Step1:จดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขต

Step2:ขอวีซ่าที่กระทรวงการต่างประเทศ

Step3:ยื่นขอ “บัตรพำนักของชาวต่างชาติ”ที่สถานีให้บริการของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

Step4:เมื่อพำนักครบ 3 ปีให้ไปยังสำนักงานเขตเพื่อยื่นขอ “สัญชาติไต้หวัน”

(ชาวต่างชาติทั่วไปที่ขอรับสัญชาติไต้หวันจะต้องอยู่ในไต้หวันอย่างถูกกฎหมายเป็นเวลา 5 ปี ส่วนคู่สมรสชาวต่างชาติต้องอยู่ในไต้หวันอย่างถูกกฎหมายเป็นเวลา 3 ปี และอยู่ในประเทศเกิด 183 วันขึ้นไปต่อปี นอกจากนี้ยังต้องมีทักษะพื้นฐานทางด้านภาษาและความรู้พื้นฐานด้านสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง)

‧คู่สมรสต่างชาติที่ขอรับสัญชาติจะต้องแนบหลักฐานการทดสอบทักษะพื้นฐานทางด้านภาษาและความรู้พื้นฐานด้านสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง โดยต้องแสดงเอกสาร 1 ใน 3 ดังต่อไปนี้

1.หลักฐานการศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลหรือเอกชนทุกประเภทเป็นเวลา 1 ปีขึ้นไป

2.หลักฐานเข้าร่วมหลักสูตรที่จัดขึ้นโดยรัฐบาลท้องถิ่นในประเทศเป็นเวลารวม 72 ชั่วโมงขึ้นไป

3.สอบเข้ารับสัญชาติ (เลือกระหว่างสอบข้อเขียนหรือสัมภาษณ์) และได้คะแนนรวม 60 คะแนนขึ้นไป ส่วนผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปต้องได้รับคะแนน 50 คะแนนขึ้นไป


Step5:หลังจากยื่นเรื่องขอสละสัญชาติและขอสัญชาติไต้หวันแล้ว หรือได้รับหลักฐานการสละสัญชาติตามกฎหมายประเทศเดิมแล้วจะต้องนำหลักฐานการสละสัญชาติไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อขอรับ “บัตรพำนักในไต้หวัน” ภายใน 1 ปีนับตั้งแต่สละสัญชาติเดิม

Step6:เมื่อพำนักครบตามที่ระบุแล้วต้องยื่นขอรับ “ใบถิ่นที่อยู่”

(ยื่นขอเมื่อพำนักในไต้หวันครบเวลาที่กำหนดนับตั้งแต่วันที่ได้รับบัตรพำนักเป็นเวลาต่อเนื่องนาน 1 ปี หรือพำนักครบ 2 ปีปีละ 270 วันขึ้นไป หรือครบ 5 ปี ปีละ 183 วันขึ้นไป)

Step7:ไปยังสำนักงานเขตเพื่อยื่นชื่อเข้าทะเบียนบ้านและรับบัตรประจำตัวประชาชน


เว็บไซต์ข้อมูลเครือข่ายทั่วโลกของกระทรวงมหาดไทยได้เพิ่มช่องทางตรวจสอบ “ชั่วโมงเรียนของชาวต่างชาติและผลการสอบเพื่อรับสัญชาติ” (https://www.ris.gov.tw/zh_TW/827)เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชาวต่างชาติตรวจสอบได้ว่าตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดแล้วหรือยัง 


ลดขั้นตอนการยื่นขอรับสัญชาติของเด็กเล็กไร้ที่พึ่ง  

เด็กและวัยรุ่นที่เกิดในประเทศและไม่มีสัญชาติไต้หวันแบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้: 

1.มารดาเป็นชาวต่างชาติ บิดาเป็นชาวไต้หวัน→บิดาสามารถรับเลี้ยงตามกฎหมาย และจะได้รับสัญชาติไต้หวัน 

2.มารดาเป็นชาวต่างชาติ บิดาเป็นชาวต่างชาติหรือไม่ทราบสัญชาติ→มีสัญชาติต่างชาติเช่นเดียวกับบิดาหรือมารดา 

3.ไม่ทราบสัญชาติของทั้งบิดาและมารดา→ได้รับสัญชาติไต้หวัน 

4.มารดาเป็นชาวต่างชาติแต่ได้ออกจากประเทศหรือถูกส่งกลับประเทศโดยตามตัวไม่พบ บิดาไม่ทราบ→เมื่อมีการตามหามารดาหรือสืบหาสัญชาติมารดาเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือนและยังไม่ได้รับคำตอบ จะถือว่าผู้นั้นเป็นบุคคลไร้สัญชาติ เมื่อได้รับการรับเลี้ยงจากชาวไต้หวันแล้ว จะต้องยื่นเรื่องขอมีสัญชาติตามพระราชบัญญัติสัญชาติ แต่หากไม่ได้ถูกรับเลี้ยง หน่วยงาน(องค์กร)การกุศลต่างๆสามารถยื่นเรื่องขอรับสัญชาติได้  

หากต้องการทราบข้อกำหนดทางด้านกฎหมายสัญชาติเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่รัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละจังหวัดหรือที่สำนักงานเขต หรือที่เว็บไซต์ “ข้อกำหนดที่ง่ายขึ้นในเรื่องทักษะพื้นฐานด้านภาษาของการขอรับสัญชาติไต้หวัน” 

เมื่อผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ได้รับบัตรประชาชนแล้วก็จะมีสิทธิและหน้าที่ตามพลเมืองทุกประการ  

ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่ได้รับบัตรประชาชนแล้วก็จะกลายเป็นประชากรไต้หวันที่มีสิทธิและหน้าที่ตามพลเมืองทุกประการ หากต้องการดูข้อมูลโดยสรุปสามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ “สิทธิและหน้าที่พลเมืองผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่” 

.สิทธิในการเลือกตั้ง:มีสิทธิ์ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองที่ตนเองชื่นชอบ 

.สิทธิในการทวงอำนาจคืน:มีสิทธิ์ในการลงคะแนนเสียงโหวตให้นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งที่ทำหน้าที่ครบ 1 ปีแต่ยังไม่ครบวาระตามที่กฎหมายกำหนดให้พ้นจากตำแหน่งได้ 

.สิทธิในการลงคะแนน:มีสิทธิ์ในการตัดสินใจเลือกใช้ร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายท้องถิ่น นโยบายที่สำคัญเป็นต้น 

.สิทธิในการบริจาคเงินให้พรรคการเมือง:มีสิทธิ์ในการบริจาคสิ่งของหรือเงินทองเพื่อสนับสนุนพรรคการเมืองหรือผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่ต้องการลงเลือกตั้ง (ผู้ที่ตั้งใจจะสมัครรับเลือกตั้ง)  

เมื่อมีการแก้ไขกฎหมายสัญชาติแล้วผู้ย้ายถิ่นฐานที่ได้รับสัญชาติแล้วก็มีโอกาสได้รับสวัสดิการสังคม โดยทั่วไปคู่สมรสชาวจีนจะได้รับสัญชาติอย่างเร็วที่สุดใน 6 ปี ส่วนสัญชาติอื่นจะได้รับสัญชาติอย่างเร็วที่สุดใน 4 ปี หากไม่ทราบขั้นตอนใดสามารถสอบถามได้ที่สถานีให้บริการแต่ละแห่งของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง  

แหล่งที่มาขอข้อมูล: 

กฎหมายสัญชาติผ่านการแก้ไขแล้ว! 

สำนักงานเขตต้าอันเมืองไทเป  

การขอรับสัญชาติไต้หวัน-กระทรวงมหาดไทย 

top