กด Enter เพื่อไปที่ส่วนเนื้อหาหลัก
:::

กองทุนพัฒนาผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่

ข่าวสารใหม่ล่าสุด
:::

บุหรี่แต่งกลิ่นเป็นอันตรายต่อสุขภาพของ "เยาวชน" และ "กลุ่มสตรี" : Say No กับบุหรี่แต่งกลิ่น!

ตั้งค่าตัวอักษร:
  • สถานที่:臺灣
  • วันที่เผยแพร่:
  • วันที่อัพเดท:2023/10/30
  • จำนวนครั้งที่กดเข้าชม:47

ผลิตภัณฑ์บุหรี่แต่งกลิ่นคือ การเพิ่มสารแต่งกลิ่นชนิดต่าง ๆ เข้าไปในบุหรี่ โดยการเพิ่มสารแต่งกลิ่นเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดกลิ่นที่รุนแรงอันไม่พึงประสงค์ในขณะสูบบุหรี่ รวมทั้งเพิ่มอรรถรสของผลิตภัณฑ์บุหรี่ในการดึงดูดกลุ่มผู้ที่ยังไม่เคยสูบบุหรี่หรือเพิ่งเริ่มสูบบุหรี่ จนกระทั่งเสพติดโดยไม่รู้ตัว

โดยแท้จริงแล้ว สารแต่งกลิ่นที่หลากหลายเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดของผู้ผลิตบุหรี่ เพื่อดึงดูดเยาวชนและลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงของผลิตภัณฑ์บุหรี่ในกลุ่มผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นการสูบบุหรี่ เนื่องจากการเพิ่มสารแต่งกลิ่นจะทำให้ผู้สูบเกิดความเพลิดเพลิน และเชื่อว่าอันตรายที่เกิดขึ้นจะมีน้อยกว่า จึงทำให้เยาวชนค่อย ๆ เสพติดบุหรี่ จนไม่สามารถเลิกสูบได้ ทั้งนี้ กรมส่งเสริมสุขภาพแจ้งเตือนว่า การสูบบุหรี่แต่งกลิ่นเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างแท้จริง เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์บุหรี่ชนิดอื่น ๆ เช่น โรคมะเร็ง เส้นเลือดในสมองแตก โรคเบาหวาน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งกลุ่มเยาวชนมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายได้ง่ายกว่า นิโคตินจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของสมอง ทำให้เกิดปัญหาด้านการเรียนรู้ สมาธิ การควบคุมอารมณ์ในภายหลังได้ รวมทั้งการเสพติดบุหรี่ชนิดอื่น ๆ ในอนาคตง่ายยิ่งขึ้น

Say no กับบุหรี่แต่งกลิ่น คุ้มครองกลุ่มเยาวชนและกลุ่มสตรี

จากการวิจัยและการประเมินสุขภาพของประชากรที่สูบบุหรี่ในประเทศสหรัฐอเมริการะหว่างปี 2556-2557 (Population Assessment of Tobacco and Health, PATH) พบว่า 80% ของเยาวชนที่อายุระหว่าง 12-17 ปี ทดลองสูบบุหรี่ที่เพิ่มสารแต่งกลิ่นเป็นครั้งแรก เช่น บุหรี่ธรรมดา บุหรี่ไฟฟ้า ซิการ์หรือมอระกู่ เป็นต้น2

จากผลการสำรวจพฤติกรรมในการสูบบุหรี่ของเยาวชนในประเทศไต้หวันประจำปี 2564 พบว่า เยาวชนที่สูบบุหรี่ทุก ๆ 10 คน จะมี 4 คน ที่สูบบุหรี่แต่งกลิ่นหมายเหตุ 1  (ระดับชั้นมัธยม 34.0% มัธยมปลายและ ปวช. 42.8%) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มสตรีจะมีอัตราการสูบที่สูงกว่ากลุ่มผู้ชาย (ระดับชั้นมัธยมปลาย 57.2% สูงกว่ากลุ่มผู้ชาย 20.6% มัธยมปลายและ ปวช. 60.7% สูงกว่ากลุ่มผู้ชาย 35.8%) นอกจากนี้ ผลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรที่อายุมากกว่า 18 ปี อัตราการสูบบุหรี่แต่งกลิ่นของกลุ่มผู้สูบบุหรี่ คิดเป็น 18.2% เพิ่มขึ้นจาก 15.6% ในปี 2563 และจากข้อมูลอัตราการสูบบุหรี่แต่งกลิ่นของกลุ่มสตรที่สูบบุหรี่ คิดเป็น 43.8% สูงกว่า 14.3% ในกลุ่มผู้ชายอย่างชัดเจนหมายเหตุ 2 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์บุหรี่แต่งกลิ่นเป็นอันตรายต่อสุขภาพองกลุ่มเยาวชนและกลุ่มสตรีในประเทศไต้หวัน และเพื่อเป็นการป้องกันกลุ่มเยาวชนที่เป็นนักเรียนในยุคต่อไปจากการสูบบุหรี่ ทุกคนจึงควรที่จะกล้า Say No กับบุหรี่แต่งกลิ่น!

ควบคุมบุหรี่แต่งกลิ่น คุ้มครองกลุ่มเยาวชน

ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต่างตระหนักถึงอันตรายของบุหรี่แต่งกลิ่นในกลุ่มเด็กและเยาวชนเพิ่มมากขึ้น โดยเริ่มมีการควบคุมสารที่แต่งเติมในผลิตภัณฑ์บุหรี่ จะเห็นได้จากแนวทางการดำเนินการตามมาตราที่ 9 และมาตราที่ 10 ของอนุสัญญากรอบการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (FCTC) ซึ่งจำกัดส่วนผสมในการเพิ่มรสชาติ รวมทั้งคุณสมบัติในการแต่งสี เพื่อทำให้ประชาชนสนใจประโยชน์ต่อสุขภาพและพลังงานจากผลิตภัณฑ์บุหรี่  ทั้งนี้ ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหภาพยุโรป อเมริกา แคนาดา อังกฤษ ได้เริ่มมีการควบคุมสารแต่งเติมในผลิตภัณฑ์บุหรี่ เช่น ในเดือนกันยายน ปี 2552 ประเทศอเมริกาได้ห้ามผลิตภัณฑ์บุหรี่แต่งกลิ่นอื่น ๆ ทั้งหมด ยกเว้นกลิ่นมิ้นต์  การขยายข้อห้ามนี้สามารถช่วยป้องกันกลุ่มเยาวชนจากการเป็นผู้สูบบุหรี่ในอนาคตที่มาจากการจูงใจ รวมทั้งมีส่วนช่วยผู้สูบบุหรี่ที่เป็นกลุ่มผู้ใหญ่เพื่อเลิกการเสพติดบุหรี่ ยิ่งไปกว่านั้นยังถือเป็นก้าวสำคัญอย่างยิ่งสู่สิทธิทางสุขภาพที่เป็นธรรม และลดปรากฏการณ์ความเป็นไม่ธรรมต่อสุขภาพที่เกิดจากการสูบบุหรี่3 

ดังนั้น เพื่อคุ้มครองประชากรให้ห่างไกลจากอันตรายของนิโคติน จึงได้มีกฎหมายป้องกันอันตรายจากผลิตภัณฑ์บุหรี่ มาตราที่ 10 โดยได้มอบอำนาจให้หน่วยงานผู้มีอำนาจส่วนกลาง จัดทำข้อกำหนดและข้อห้ามของสารเติมแต่งในผลิตภัณฑ์บุหรี่ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการได้มีประกาศล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับโครงการร่าง "ห้ามใช้สารเติมแต่งที่มีกลิ่นหอมดอกไม้ กลิ่นหอมผลไม้ ช็อคโกแลต และมิ้นต์ ในผลิตภัณฑ์บุหรี่" ด้วยการพิจารณาแนวทางดำเนินการของอนุสัญญากรอบการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก ตลอดจนรวบรวมข้อกำหนดและการจัดการที่เกี่ยวข้องในระดับสากล และรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่อง เพื่อกำหนดมาตรฐานและการจัดการผลิตภัณฑ์บุหรี่แต่งกลิ่นที่สามารถดำเนินการได้จริง ในอันที่จะลดอัตราการสูบบุหรี่ของประชากร

หมายเหตุ 1 : คำจำกัดความของผู้สูบบุหรี่ในกลุ่มเยาชนปัจจุบัน : เคยทดลองสูบบุหรี่ภายใน 30 วันที่ผ่านมา แม้จะสูบเพียงครั้งเดียวหรือ 2 ครั้ง

หมายเหตุ 2 : คำจำกัดความของผู้สูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวขนปัจจุบันที่อายุ 18 ปีขึ้นไป : สูบบุหรี่ตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบันสะสมเกิน 100 มวน และสูบผลิตภัณฑ์บุหรี่ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา


สูงสุด