กด Enter เพื่อไปที่ส่วนเนื้อหาหลัก
:::

กองทุนพัฒนาผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่

ข่าวสารใหม่ล่าสุด
:::

ผู้หญิงวัย 50 ปีขึ้นไปทุก ๆ 10 คนจะมี 1 คนเป็นโรคกระดูกพรุน … “แคลเซียม”สำคัญในวัยเด็ก เมื่อถึงวัยสูงอายุจะไม่ “กระดูกพรุน”

ตั้งค่าตัวอักษร:
  • สถานที่:臺灣
  • วันที่เผยแพร่:
  • วันที่อัพเดท:2023/10/27
  • จำนวนครั้งที่กดเข้าชม:45

เพื่อตอบรับแนวคิดของวันโรคกระดูกพรุนโลกประจำปี 2023 “สร้างคุณภาพกระดูกที่ดีขึ้นตลอดชีวิต” (BUILDING BETTER BONES THROUGHOUT LIFE) อันเป็นพื้นฐานความหนาแน่นของกระดูกไว้แต่เนิ่น ๆ โดยถือว่าเป็นวิธีเดียวในการป้องกันโรคกระดูกพรุน  เนื่องจาก “โรคกระดูกพรุน” เป็น “ภัยเงียบ” ชนิดหนึ่ง ที่ทำให้กระดูกเปราะบาง ความหนาแน่นลดลง และสูญเสียความแข็งแรง ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ใส่ใจกับสภาวะการสูญเสียมวลกระดูกของตนเอง จนกว่าจะมีการล้มหรือกระแทกเล็กน้อย จึงให้ความสำคัญ ดังนั้น อย่ารอจนกว่าอายุมากขึ้นแล้วค่อยเริ่มป้องกันและรักษา “โรคกระดูกพรุน” เนื่องจากก่อนอายุ 30 ปีมวลกระดูกของร่างกายมนุษย์จะอยู่ที่ค่าสูงสุด จากนั้นความหนาแน่นของมวลกระดูกจะค่อย ๆ ลดลงในแต่ละปีตามอายุที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น การป้องกันกระดูกพรุนจึงต้องเริ่มจากวัยเด็ก ซึ่งจากผล “การสำรวจการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพและโภชนาการของประชากร” ระหว่างปี 2017-2020 ของกรมส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ พบว่าสัดส่วนโรคกระดูกพรุนของประชาชนอายุ 50 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 8.1 และพบมากในผู้หญิงสูงกว่าผู้ชาย หรือประมาณ 1 ใน 10 ของผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน นอกจากนี้ จากการสำรวจพบว่า ประชาชนอายุระหว่าง 19-64 ปี มีการบริโภคแคลเซียมไม่เพียงพอ (505-566 มิลลิกรัม) โดยคิดเป็นปริมาณการบริโภคเพียงครึ่งเดียวของปริมาณที่แนะนำ 1000 มิลลิกรัม

กรมส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวคิดการสร้าง “พื้นฐานความหนาแน่นของมวลกระดูก” พื้นฐานตั้งแต่วัยเยาว์เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง แคลเซียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก การบริโภคแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอ ถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของมวลกระดูก จึงควรสร้างความหนาแน่นของมวลกระดูกพื้นฐานให้พร้อมก่อนอายุ 30 ปี เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียมวลกระดูกในแต่ละปี ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิต

ดังนั้น การสร้าง “กระดูก” อย่างมีคุณภาพที่ดีตลอดช่วงอายุ 30 ปีคือกุญแจสำคัญ ด้วยแนวทาง 4 วิธีในการสร้าง “พื้นฐานความหนาแน่นของมวลกระดูก”

มวลกระดูกเป็นผลจากการสร้างในระยะยาว สิ่งสำคัญคือการสร้างอุปนิสัยประจำวัน กรมส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ จึงได้เสนอแนวทาง 4 วิธีในการสร้าง “พื้นฐานความหนาแน่นของมวลกระดูก” ดังนี้

(1) การสร้างโภชนาการที่สมดุล : บริโภคแคลเซียมที่เพียงพอ ได้แก่

1. การดื่มผลิตภัณฑ์นมวันละ 1.5~2 แก้ว โดยที่ปริมาณผลิตภัณฑ์นม 240 มิลลิลิตร (ml) แต่ละแก้ว จะมีแคลเซียมประมาณ 240 มิลลิกรัม (mg)

2. การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ชีส งาดำ ปลาแห้ง เต้าหู้ดั้งเดิม ผักสีเขียวเข้ม โดยเฉพาะใบมันเทศ ผักโขม เป็นต้น จะมีแคลเซียมสูงกว่าผักทั่วไป (ผักสีเขียวเข้มทุกๆ 100 กรัม จะมีแคลเซียมประมาณ 75 มิลลิกรัม)

(2) การออกกำลังกายเพื่อสร้างพื้นฐานความหนาแน่นของมวลกระดูก : การออกกำลังกายมีส่วนช่วยเสริมการเจริญเติบโตของมวลกระดูกในช่วงวัยเจริญเติบโต และช่วยรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูกเอาไว้ในผู้ใหญ่ ทั้งนี้ การออกกำลังกายจะเป็นประเภทที่แบกรับน้ำหนักและพลังของกล้ามเนื้อเป็นหลัก เช่น การวิ่งจ๊อกกิ้ง เต้นรำ ปีนเขา ยกดัมเบล เป็นต้น

(3) การตากแดดที่พอเหมาะ : แนะนำให้ทำกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อรับแสงอาทิตย์ในช่วงเช้าและตอนเย็น แสงอาทิตย์ที่พอเหมาะจะช่วยกระตุ้นวิตามิน D ในร่างกาย ช่วยดูดซับแคลเซียล และเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง

(4) การสร้างนิสัยที่ดีในการดำรงชีวิต : ควบคุมน้ำหนักให้ปกติ เลิกสูบบุหรี่ และหยุดดื่มสุรา จะสามารถลดการสูญเสียความหนาแน่นของมวลกระดูก รวมทั้งชะลอการเกิดโรคกระดูกพรุน


สูงสุด