กด Enter เพื่อไปที่ส่วนเนื้อหาหลัก
:::

กองทุนพัฒนาผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่

การเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีและภาษาแม่
:::

ภาษาผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่แสนสนุก

ตั้งค่าตัวอักษร:
  • สถานที่:Taiwan
  • วันที่เผยแพร่:
  • วันที่อัพเดท:2019/02/18
  • จำนวนครั้งที่กดเข้าชม:278

กระทรวงศึกษาธิการได้ “ร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน12 ปี” ได้บรรจุภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งสิ้น 7 ภาษาเข้าไปเป็นวิชาเลือกของเด็กประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยมุ่งหวังให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ภาษาของผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ผ่านนโยบายของภาครัฐ ให้เข้าใจและชื่นชมในวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับไต้หวัน เปิดโลกทัศน์ของเด็กๆให้ก้าวทันโลก เปิดโอกาสทางการศึกษาและการพัฒนา แม้ว่าหลักสูตรนี้จะเริ่มขึ้นในปี 2019 แต่นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมาก็ได้มีการอุดหนุนให้โรงเรียนจัดกิจกรรมภาษาผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่แสนสนุก มีจุดประสงต์เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมของผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ อีกทั้งยังสามารถวางแผนการเรียนการสอนให้มีความแตกต่างกันไปตามพื้นที่ ลักษณะเด่นของผู้คนและทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง (เช่นชมรม ค่าย และกิจกรรมเป็นต้น) เพื่อใช้โอกาสนี้จุดประกายให้เด็กๆสนใจเรียนภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มมากขึ้น


กรมการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้เร่งเตรียมงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเปิดหลักสูตรผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ให้สำเร็จ ซึ่งรวมไปถึง “การจัดอบรมสำหรับครูผู้ช่วยสอนในชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น” เป็นภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งขณะนี้มีครูผู้ช่วยสอนที่เป็นผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ถึง 2,081 ท่าน มีการจัดทำสื่อการเรียนการสอนภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งสิ้น 7 ภาษา ในปีการศึกษา 2018 ก็ได้มีโรงเรียนทั้งสิ้น 44 แห่งจาก 20 เมืองทั่วประเทศมาร่วมเรียนผ่านการไลฟ์สด เป็นต้น จากการเตรียมการทั้งหมดข้างต้น ทำให้สามารถเริ่มหลักสูตรภาษาผู้ย้ายถิ่นฐานได้ในปีการศึกษา 2019 ตามที่ได้วางแผนไว้


เพื่อจัดหลักสูตรการเรียนภาษาผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ปี 2019 ให้สำเร็จ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกลางแห่งชาติ สภาอุตสาหกรรมสารสนเทศในการผลักดันให้มี “การเรียนระยะไกล”โดยใช้เทคโนโลยีในการสอนภาษาผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาผู้สอนไม่เพียงพอในพื้นที่ธุรกันดาร ให้นักเรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน อีกทั้งยังช่วยให้บุตรหลานผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ได้ใช้ความสามารถทางด้านภาษาและวัฒนธรรมมาปรับใช้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน12 ปี เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ให้ “เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับเด็กทุกคน”

สูงสุด