กด Enter เพื่อไปที่ส่วนเนื้อหาหลัก
:::

กองทุนพัฒนาผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่

กฎหมาย
:::

“หัวข้อด้านกฎหมาย” ยื่นขอรับการช่วยเหลือทางกฏหมาย เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของตน

ตั้งค่าตัวอักษร:
  • สถานที่:Taiwan
  • วันที่เผยแพร่:
  • วันที่อัพเดท:2020/07/28
  • จำนวนครั้งที่กดเข้าชม:277
“หัวข้อด้านกฎหมาย” ยื่นขอรับการช่วยเหลือทางกฏหมาย เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของตน

ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ต่างถิ่น และไม่คุ้นเคยกับกฎหมายของไต้หวัน แน่นอนว่าเมื่อเจอปัญหาทางด้านนี้จะต้องปฏิบัติตนไม่ถูก ทำให้เสียสิทธิ์ไปอย่างน่าเสียดาย ทางหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจึงได้ร่วมมือกันจัดให้มีบริการให้คำปรึกษาฟรี เพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ นอกจากนี้รัฐบาลยังจัดให้มีล่ามแปลภาษา เพื่อแก้ปัญหาอุปสรรคทางภาษาที่เกิดขึ้น


มูลนิธิพัฒนาผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ขยายช่องทางการช่วยเหลือด้านกฎหมายสำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่


ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่บางท่านที่พบเจอกับปัญหาด้านชีวิตสมรส สิทธิ์ในการเลี้ยงดูบุตร ทรัพย์สิน และการพำนักเป็นต้นมักเสียสิทธิ์ของตนเองไปด้วยความที่ไม่รู้ด้านกฎหมาย ซึ่งการเข้ารับคำปรึกษาก่อนการฟ้องร้อง หรือการรับคำปรึกษาที่เกี่ยวข้องจากทนายต่างก็เป็นค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นภาระของผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่เป็นอย่างมาก


เพื่อช่วยเหลือผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ในด้านกฎหมาย มูลนิธิพัฒนาผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่จึงได้จัดให้มี “แผนการคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตของผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่” และ “แผนการช่วยเหลือและสวัสดิการสำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ในกรณีพิเศษ” ด้านกฎหมาย โดยขยายความช่วยเหลือออกเป็น “ช่วยเหลือสูงสุดคนละ 5 หมื่นดอลล่าร์ไต้หวัน ซึ่งรวมไปถึงค่าทนาย (รวมถึงการปรึกษา ว่าความ ร่างคำป้อง ยื่นคำฟ้อง ตรวจสอบ และขึ้นศาล) โดยเงินช่วยเหลือนี้จะให้เพียงครั้งเดียวต่อหนึ่งคดีเท่านั้น” หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ของเราที่ “มาตรการยื่นขอรับเงินช่วยเหลือและรายการช่วยเหลือของมูลนิธิพัฒนาผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่”



ขอรับบริการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายได้ที่ใดบ้าง?


เพื่อช่วยเหลือปัญหาด้านกฎหมายของประชาชน รัฐบาลท้องถิ่นแต่ละแห่ง ที่ว่าการต่างๆ คณะกรรมการไกล่เกลี่ยต่างๆ ศาล สำนักงานอัยการต่างก็มีบริการให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ได้จัดให้มีทนายมืออาชีพมาตอบคำถามข้อสงสัยของประชาชน ทำให้มีช่องทางให้คำปรึกษาด้านกฎหมายที่สะดวก โดยการขอเข้ารับการปรึกษาแต่ละครั้งต้องจองคิวล่วงหน้าเพื่อพูดคุยพร้อมกันหรือผ่านทางโทรศัพท์ บางแห่งยังมีบริการวีดีโอคอล ให้ผู้รับบริการสามารถนัดเวลาเพื่อขอรับคำปรึกษาจากทนายล่วงหน้า สามารถเข้าไปตรวจสอบเวลาและสถานที่ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายของหน่วยงานแต่ละแห่งได้ในเว็บไซต์ของเราที่ “ช่องทางการขอรับคำปรึกษาด้านกฎหมาย” หรือเข้าไปที่ เว็บไซต์ของกระทรวงยุติธรรม



มูลนิธิพัฒนาผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้บริการช่วยเหลือด้านกฎหมาย


มูลนิธิช่วยเหลือด้านกฎหมาย(เรียกสั้นๆว่ามูลนิธิฯ) มีทั้งสิ้น 22 แห่งทั่วประเทศ ทำหน้าที่ “ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย” และ “ยื่นขอรับคำปรึกษาจากทนาย” หากมีความต้องการด้านกฎหมาย เช่น การขอรับคำปรึกษาด้านกฎหมาย การร่างเอกสารด้านกฎหมายต่างๆ หรือการเชิญทนายมารับมอบอำนาจให้จัดการคดีแพ่งหรืออาญาเป็นต้นก็สามารถทำได้ผ่าน “มูลนิธิช่วยเหลือด้านกฎหมาย” ซึ่งก่อตั้งขึ้นจากงบประมาณของกระทรวงยุติธรรม


มูลนิธิช่วยเหลือด้านกฎหมายมีบริการผ่านทาง “โทรศัพท์” “ต่อหน้า” หรือ “วีดีโอคอล” ทั้งสิ้น 3 วิธี ที่สถานีให้บริการของกรมตรวจคนเข้าเมืองก็จะมีเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิคอยให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย หากต้องการทราบสถานที่ให้บริการและวิธีการจองคิว สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ของมูลนิธิช่วยเหลือด้านกฎหมาย หรือโทรสอบถามได้ที่สายด่วน:412-8518 ต่อ 2(เติม 02 ด้านหน้าหากโทรผ่านมือถือ)



บริการล่ามเพื่อปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐาน


ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่มีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองด้านกฎหมายเช่นเดียวกับชาวไต้หวัน เพื่อแก้ไขอุปสรรคทางภาษาที่เกิดขึ้น ล่ามจึงมีความสำคัญในการเป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างคู่กรณีและเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมาย ปัจจุบันนี้มีความต้องการล่ามเพิ่มมากขึ้น กรมตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงมหาดไท รัฐบาลท้องถิ่น สถานีตำรวจ ศาลต่างก็จัดโครงการอบรมล่ามขึ้น โดยมีเนื้อหาที่เป็นมืออาชีพทั้งในด้านจริยธรรมในอาชีพ การแก้ไขกฎหมาย เทคนิคการเข้าเยี่ยมเป็นต้น ชาวต่างชาติที่ต้องการรับบริการสามารถยื่นเรื่องได้ จะมีล่ามเข้าไปช่วยเหลือด้านการสื่อสาร ติดตามไปยังสถานีตำรวจเพื่อลงบันทึกประจำวันหรือไปยังศาลเพื่อช่วยในการขึ้นศาล เป็นการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์



ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ในไต้หวันต้องใช้ชีวิตอยู่ต่างถิ่นอีกทั้งยังไม่คุ้นเคยกับกฎหมายของไต้หวัน เมื่อพบกับปัญหาด้านกฎหมายมักไม่รู้จะไปพึ่งใคร ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจึงได้ร่วมกันจัดให้มีบริการให้คำปรึกษาทั้งด้านชีวิตสมรส สิทธิ์ในการเลี้ยงดูบุตร ทรัพย์สิน การพำนักและมีถิ่นที่อยู่เป็นต้น เมื่อพบกับอุปสรรคด้านการสื่อสารก็สามารถขอรับบริการล่าม เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของตนเองอย่างเต็มที่



แหล่งที่มาของข้อมูล:

เว็บไซต์เครือข่ายสารสนเทศเพื่อการพัฒนาความสามารถผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่-มูลนิธิพัฒนาผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ ขยายขอบข่ายช่วยเหลือทางด้านกฎหมายให้กับผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่


กระทรวงยุติธรรม-ทรัพยากรให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย


เว็บไซต์ของมูลนิธิช่วยเหลือทางกฎหมาย

สูงสุด