กด Enter เพื่อไปที่ส่วนเนื้อหาหลัก
:::

กองทุนพัฒนาผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่

การคุ้มครองผู้บริโภค
:::

สั่งซื้อง่ายคืนเงินยาก ซื้อสินค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนไม่ใช่เรื่องง่าย

ตั้งค่าตัวอักษร:
  • สถานที่:Taiwan
  • วันที่เผยแพร่:
  • วันที่อัพเดท:2021/05/20
  • จำนวนครั้งที่กดเข้าชม:212

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสภาบริหาร( Consumer Protection Committee,Executive Yuan)(ต่อไปเรียกสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคสภาบริหาร) ขอเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการเลือกทำธุรกรรมซื้อขายกับคู่ค้าในการซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ ควรทำความเข้าใจต่อปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและวิธีการรับมือล่วงหน้า จึงจะสามารถลดความเสี่ยงในการทำธุรกรรมซื้อขายได้


     นับตั้งแต่สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคสภาบริหารได้ลงนามบันทึกความจำด้านความเข้าใจกับสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคเกาหลีใต้ในปี 2019 เป็นต้นมา ได้ให้การช่วยเหลือประชาชนในประเทศจัดการปัญหาข้อพิพาทด้านการบริโภคข้ามพรมแดนแล้ว 24 เรื่อง ในจำนวนนี้ 12 เรื่องเป็นข้อพิพาทด้านการซื้อสินค้าออนไลน์  ลักษณะของความขัดแย้งประกอบด้วยความเสียหายจากการขนส่ง การขนส่งคืนหรือการส่งสินค้าล่าช้าเป็นต้น ผลที่สุดการเรียกร้องของผู้บริโภคเหล่านี้ ใช่ว่าจะได้รับการตอบกลับจัดการอย่างเหมาะสมจากผู้ประกอบการทั้งหมดแต่อย่างใด ก็ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการเกิดความขัดแย้งจากการซื้อสินค้าออนไลน์ ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศว่าจะมีผลอย่างไร จากการที่ซื้อสินค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง หากต้องมาปวดหัวเอาทีหลังแล้ว ก็สู้ทำการประเมินอย่างรอบคอบและเตรียมป้องกันไว้ก่อนจะเป็นการดีกว่า สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคสภาบริหารได้รวบรวมตัวอย่างและข้อมูลระหว่างประเทศ เตือนประชาชนที่ต้องการสั่งซื้อข้ามประเทศให้เพิ่มความระมัดระวัง พร้อมทั้งทำการเสนอแนะดังต่อไปนี้:


1.ทำความรู้จักการทำธุรกรรมซื้อขายกับคู่ค้าในต่างประเทศให้ชัดเจน:

(1)ชัดเจนถึงสถานที่ตั้งของโรงงานผู้ผลิต:เมื่อเห็นเว็บไซต์หรือ app เป็นภาษาจีน ห้ามคิดว่าเป็นร้านค้าในประเทศ และนึกว่ามีการคุ้มครองตามกำหนดการคืนสินค้าอย่างไม่มีเงื่อนไขภายใน 7 วัน  โดยมีประชาชนเมื่อได้เห็นว่ามีค่าขนส่งระหว่างประเทศและภาษีศุลกากร ถึงรู้ว่าเป็นการทำธุรกรรมซื้อขายข้ามพรมแดนและไม่ยอมเซ็นรับ แต่โรงงานผู้ผลิตไม่เพียงแต่ไม่คืนเงินค่าสินค้า ยังเรียกร้องให้ผู้บริโภคจ่ายค่าขนส่งในการคืนสินค้าอีกด้วย โปรดระวัง โรงงานผู้ผลิตที่กล่าวถึง ณ ที่นี่ล้วนอยู่ต่างประเทศ  นอกจากข้อสัญญาการซื้อขายหรือโรงงานผู้ผลิตสัญญาว่าสามารถคืนสินค้าโดยไม่มีค่าใช้จ่าย มิเช่นนั้นเมื่อมาเรียกร้อง “อย่างไม่มีเงื่อนไข”หลังส่งสินค้าแล้ว ก็มีเพียงแค่ต้องรอดูท่าทีของฝ่ายโรงงานผู้ผลิตเท่านั้น

(2)หลีกเลี่ยงการซื้อสินค้ากับผู้ขายส่วนบุคคล:ตามข้อกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในหลายประเทศ กำหนดเพียงขอบข่ายการทำธุรกรรมซื้อขายแบบผู้ประกอบการต่อผู้ประกอบการ(B2C)เท่านั้น  ไม่ควบคุมการซื้อขายระหว่างกันของส่วนบุคคล(C2C) เคยมีผู้บริโภคสั่งซื้อสินค้าจากเว็บไซต์โซเชียลมีเดีย ก่อให้เกิดข้อพิพาทขึ้น แม้ว่าจะทำการร้องเรียน ก็มีความลำบากในการรับเรื่องเพื่อจัดการ

(3)ตรวจสอบข้อมูลของผู้ขายอย่างละเอียด:มีเว็บไซต์สินค้าบางส่วนความจริงทำการรับใบสั่งสินค้าเท่านั้น ก่อนซื้อสินค้าต้องทำการตรวจดูการแสดงความคิดเห็นต่อผู้ขายและบันทึกการทำธุรกรรมด้านการซื้อขายเป็นต้นอย่างละเอียด

(4)รอบคอบต่อการเลือกตัวแทนผู้ประกอบการจัดส่งสินค้า:ผู้บริโภคควรอ่านให้เข้าใจชัดเจนถึงเงื่อนไขการให้บริการและการปฏิเสธความรับผิดชอบของตัวแทนผู้ประกอบการจัดส่งสินค้า หรือผู้ประกอบการรวบรวมสินค้าเพื่อจัดส่ง แล้วค่อยทำการตัดสินใจเลือกวิธีการจัดส่ง


2.เลือกใช้มาตราเพื่อลดความเสี่ยง:

(1)เลือกใช้เครื่องมือการชำระเงินผ่านบุคคลที่สาม:หลังผู้บริโภคยืนยันการได้รับสินค้าแล้ว การชำระเงินผ่านบุคคลที่สามจึงจะทำการชำระเงินค่าสินค้า การทำธุรกรรมซื้อขายปลอดภัยและค่อนข้างมีหลักประกัน

(2)ใช้วิธีการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต:สามารถตรวจดูว่าบัตรเครดิตมีสัญญาการรับประกันการซื้อสินค้าหรือไม่ นอกจากนี้เมื่อจำเป็นก็สามารถอาศัยหน่วยงานผู้ออกบัตรช่วยเหลือในการจัดการข้อพิพาท หรือเรียกเก็บคืนเงินจ่ายตามรายการได้

(3)เลือกวิธีการจัดส่งที่ค่อนข้างปลอดภัย :ศูนย์การค้าออนไลน์หากเป็นผู้ที่มีการจัดส่งโดยตรงหรือร่วมมือกับบริษัทขนส่งพัสดุที่มีชื่อเสียง ซึ่งสามารถติดตามตำแหน่งของสินค้าและรับผิดชอบชดใช้เมื่อสินค้าสูญหาย ก็น่าที่จะพิจารณาเป็นอันดับแรก


3.ทำความเข้าใจต่อกติกาการทำงานของโลจิสติกส์:

(1)ขั้นตอนของโลจิสติกส์:ซื้อของออนไลน์ต่างประเทศ ยากที่จะหลีกเลี่ยงขบวนการของขั้นตอนการทำธุรกรรมซื้อขายระหว่างประเทศได้ งานเหล่านี้ไม่แน่ว่าจะมีเว็บไซต์ขายสินค้าเป็นผู้ดำเนินการแทน อาจจะมีผู้ประกอบการที่เป็นตัวแทน(เช่นซื้อแทน จ่ายแทนหรือผู้ประกอบการตัวแทนจัดส่งสินค้า) ผู้บริโภคจำเป็นต้องอ่านข้อสัญญาการจัดส่งอย่างละเอียด และติดตามความก้าวหน้าของการจัดส่งอย่างกระตือรือร้น

(2)ระเบียบการนำเข้า:สินค้าจำนวนมากถูกควบคุมการนำเข้า ดังนั้นผู้บริโภคไม่สามารถที่จะไม่รู้เรื่องเลยเกี่ยวกับระเบียบพิธีการศุลกากร นอกจากนี้ระบบการยืนยันตัวตนด้วยชื่อจริงของผู้รับพัสดุของกระทรวงการคลังได้เริ่มใช้แล้วเมื่อปี 2020 แนะนำประชาชนควรดาวน์โหลด App “EZ WAY易利委”       (EZ WAY อี้ลี่เหว่ย ) ทำการลงทะเบียนยืนยันตัวบุคคลด้วยชื่อจริงให้สำเร็จ เพื่อหลีกเลี่ยงพัสดุซื้อออนไลน์ตกค้างที่ด้านศุลกากร

(3)กติกาการคืนสินค้า:เมื่อรับสินค้าพบว่ามีขนาดหรือคุณภาพไม่ถูกต้อง อยากส่งกลับไปต่างประเทศเพื่อเปลี่ยนสินค้า ผู้ประกอบการต่างประเทศไม่แน่ว่าจะรับภาระค่าขนส่ง ข้อสัญญาการคืนสินค้ามีระบุใช้ได้กับผู้ขายต่างประเทศหรือไม่ ก็จำเป็นต้องระวังให้ดี

(4)การรับมือเมื่อสินค้าสูญหายในการจัดส่ง:หลังสินค้าสูญหาย ผู้บริโภคต้องทำการแจ้งเว็บไซต์ขายสินค้าหรือผู้ประกอบการตัวแทนจัดส่ง มีเว็บไซต์ขายสินค้าบางแห่งระบุชัดในสัญญา เมื่อมีสินค้าถูกลักขโมยสูญหาย ผู้บริโภคควรต้องทำการแจ้งความต่อหน่วยงานตำรวจในท้องที่(ต่างประเทศ)

(5)ภาษาที่ใช้สื่อสาร:เว็บเพจการสั่งสินค้าออนไลน์แม้มีระบุเป็นภาษาจีน แต่เว็บไซต์ต่างประเทศส่วนมากไม่มีพนักงานบริการภาษาจีน ก็ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลยว่าจะแจ้งความกับหน่วยงานตำรวจต่างประเทศ ต้องใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้เท่านั้น อีกทั้งส่วนใหญ่ไม่รับการแจ้งความออนไลน์ ผู้บริโภคหากไม่คุ้นเคยภาษาต่างประเทศ ก็จะไม่สามารถสื่อสารกับผู้ประกอบการผลิตในท้องที่ได้ หรือเกิดสภาพการณ์อ่านไม่เข้าใจต่อข้อสัญญาการทำธุรกรรมซื้อขาย จึงเป็นเรื่องจริงที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ


      สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคสภาบริหารขอเตือนประชาชน หากโชคร้ายเกิดข้อพิพาทในการซื้อสินค้าข้ามพรมแดน เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีข้อมูล “ช่องทางและระบบการจัดการข้อพิพาทที่เกี่ยวพันกับการซื้อสินค้าข้ามพรมแดน” เป็นต้น โปรดพิจารณาเพื่อการใช้งาน

สูงสุด