กด Enter เพื่อไปที่ส่วนเนื้อหาหลัก
:::

กองทุนพัฒนาผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่

ข่าวสารการทำงาน
:::

ช่องทางการหางานและเปิดกิจการที่ควรทราบ

ตั้งค่าตัวอักษร:
  • สถานที่:Taiwan
  • วันที่เผยแพร่:
  • วันที่อัพเดท:2020/11/12
  • จำนวนครั้งที่กดเข้าชม:391

หลายครั้งที่ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ต้องการจะหางานเพื่อแบ่งเบาภาระของครอบครัว แต่เนื่องจากติดปัญหาในเรื่องของภาษาควรทำอย่างไรดี?เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่เข้าทำงานได้อย่างราบลื่น รัฐบาลจึงได้จัดมหกรรมจัดหางานและเปิดหลักสูตรอบรมมากมาย นอกจากนี้ยังมีการอบรม กองทุนกู้ยืมเงินทุน 

และให้เงินชดเชยสำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานที่ต้องการเปิดกิจการด้วยตนเอง ดังนั้น เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ เมืองไทเป จึงได้รวบรวมข้อมูลเพื่อรักษาสิทธิและทำตามหน้าที่ของตนเองในการทำงาน ช่องทางการหางาน การฝึกอบรมวิชาชีพ และการทดสอบทักษะความสามารถเป็นต้น ผ่านการช่วยเหลือของภาครัฐและภาคเอกชน ให้ผู้ย้ายถิ่นฐานสามารถทำความฝันให้เป็นจริงได้แม้ไม่ได้อยู่ในบ้านเกิดของตนเอง


1.ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่ได้รับใบอนุญาตอยู่อาศัยไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตทำงานก็สามารถทำงานในไต้หวันได้ 

ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่ได้รับใบอนุญาตอยู่อาศัยมีสิทธิ์ทำงานในไต้หวันโดยไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตทำงานอีก ก็สามารถทำงานในไต้หวันได้อย่างถูกกฎหมาย และได้รับสิทธิประโยชน์สำหรับแรงงานตามชาวไต้หวันทุกประการ 


อ้างอิงแหล่งที่มา:

เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่-เมื่อได้รับใบอนุญาตอยู่อาศัยก็ไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงานอีก


2. สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงมหาดไทยร่วมมือกับเว็บไซต์จัดหางาน 1111 ในการจัดตั้ง “เว็บไซต์ให้คำปรึกษาในการหางานของผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่1111” เพื่อทำหน้าที่จัดหางานให้กับผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่

“เว็บไซต์ให้คำปรึกษาในการหางานของผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่1111”  ภายในแบ่งออกเป็นทั้งสิ้นสี่หัวข้อหลัก คือ “ทำงานทันที” “ตอบกลับทันที” “ไม่ต้องมีประสบการณ์” “หางานชั่วคราว” เป็นต้น พร้อมแสดงงานใหม่ล่าสุด หลักสูตรอบรม และข้อควรทราบในการทำงานให้กับผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ 



3. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานได้จัดทำเว็บไซต์ที่รวบรวม “เว็บข่าวสารจัดหางานในไต้หวัน” เพื่อให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการจัดหางาน เข้าอบรม ทดสอบ สร้างธุรกิจ และการหางานสำหรับผู้พิการ เป็นต้น อีกทั้งยังจัดให้มีสายด่วน 0800-777-888 ให้บริการฟรีตลอด 24 ชั่วโมง

ผู้สนใจสามารถหางานผ่านเว็บจัดหางาน104, 1111, 518เป็นต้น ยังมีเว็บไซต์ “เว็บข่าวสารจัดหางานในไต้หวัน”ที่รวบรวมข้อมูลการรับสมัครงานของหน่วยงานทางภาครัฐ องค์กรอิสระ องค์กรเอกชน จนกลายเป็นเว็บไซต์จัดหางานของรัฐที่ใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ยังมีโซนจัดหางานสำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ ที่ให้บริการให้คำปรึกษาด้านการจัดหางาน สิทธิและหน้าที่ในการทำงาน การอบรม การสอบรับรองความสามารถในด้านต่างๆ และการช่วยเหลือในการเปิดกิจการ

“เว็บข่าวสารจัดหางานในไต้หวัน”ยังมีสายด่วน 0800-777-888 ให้บริการฟรีตลอด 24 ชั่วโมงที่มีเจ้าหน้าที่ให้บริการตอบคำถามข้อสงสัยอย่างเป็นมืออาชีพ เป็นต้น 


อ้างอิงแหล่งที่มา:

เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ – สายด่วนให้บริการจัดหางานกระทรวงแรงงาน

กระทรวงแรงงาน- “เว็บข่าวสารจัดหางานในไต้หวัน”


4. สำหรับผู้ที่สนใจเปิดกิจการของตนเอง ทางกระทรวงแรงงานได้เปิดให้มี “บริการกู้ยืมสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย” และสายด่วนให้บริการฟรีที่ 0800-092-957

ด้วยวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่ต้องการจะเปิดกิจการของตนเอง กระทรวงแรงงานจึงได้จัดงบประมาณชดเชยดอกเบี้ยสำหรับสตรี ประชาชนวัยกลางคนและวัยสูงอายุที่ต้องการเปิดกิจการของตนเอง ทั้งยังมีโครงการช่วยเหลือสำหรับผู้เปิดกิจการใหม่ และบริการค้ำประกันสินเชื่อ เพื่อลดอุปสรรคในการเปิดกิจการ ให้ผู้สนใจสามารถเปิดกิจการได้อย่างราบลื่น และเปิดโอกาสในการสร้างงานให้มากขึ้น

ผู้ที่ตรงตามคุณสมบัติที่กำหนดจะสามารถยื่นขอ “บริการกู้ยืมสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย” โดยมีวงเงินกู้มากสุด 1 ล้านดอลล่าร์ไต้หวัน โดยมีระยะเวลาในการชำระหนี้ 7 ปี (ปลอดภาษี2 ปีแรก) นอกจากนี้ทางรัฐยังมีบริการค้ำประกันสินเชื่อสูงถึงร้อยละ 95 โดยไม่ต้องมีผู้ค้ำ และยังมีบริการช่วยเหลือให้คำปรึกษาตลอดเวลาการเปิดกิจการ มีหลักสูตรอบรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ และรับเข้ากลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


อ้างอิงแหล่งที่มา:

เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ –บริการกู้ยืมสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย กระทรวงแรงงาน

กระทรวงแรงงาน – แนะนำโครงการบริการกู้ยืมสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย 


5. ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่สามารถเข้าร่วมคอร์สฝึกอบรมด้านวิชาชีพ โดยภาครัฐจะเป็นผู้ออกเงินค่าอบรมให้เต็มจำนวน เมื่อมีการสอบวัดระดับความสามารถยังจัดให้มีบริการอ่านข้อสอบเป็นภาษาจีน เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ให้ได้รับใบรับรองการประกอบวิชาชีพได้อย่างราบลื่น

เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ กระทรวงแรงงานได้เปิดหลักสูตรอบรมขึ้นหลายหลักสูตร ซึ่งนอกจากภาครัฐจะออกเงินค่าอบรมให้เต็มจำนวนแล้ว ผู้ที่เข้ารับการอบรมเต็มวันเป็นเวลา 1 เดือนขึ้นไป จะสามารถยื่นขอเงินชดเชยสำหรับการเข้าอบรมเป็นร้อยละ 60 ตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่ลงทะเบียนเรียน “หลักสูตรการประกอบอาหารจีน” “หลักสูตรการเป็นผู้ดูแล” “ช่างเสริมสวย” “ช่างตัดผม” “พี่เลี้ยงเด็ก” “ขนมอบ-หลักสูตรขนมเค้กประเภท ประเภท ค” และ “ขนมอบ – หลักสูตรขนมปัง ประเภท ค” เป็นต้น โดยเป็นหลักสูตรการสอบใบรับรองประเภท ค หรือหลักสูตรทั่วไปรวมทั้งสิ้น 7 รายการ ระหว่างการสอบจะมีเจ้าหน้าที่ให้บริการอ่านข้อสอบเป็นภาษาจีน เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ได้รับใบรับรองการประกอบวิชาชีพได้อย่างราบลื่น

หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ในส่วน “อบรมและเข้าทำงาน” - “ข้อมูลการอบรม” 


อ้างอิงแหล่งที่มา:

เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ –บริการกู้ยืมสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย กระทรวงแรงงาน

กระทรวงแรงงาน – โครงการบริการกู้ยืมสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย “คู่สมรสชาวต่างชาติและชาวจีน”


6. “กฎหมายแรงงาน” ฉบับปรับปรุงมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม ปี 2016 ซึ่งนอกจากจะหยุดวันเสาร์ อาร์ และวันหยุดราชการพร้อมกันทั่วประเทศเล้วแรงงานยังจะมีวันหยุดเพิ่มเติมพิเศษเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย 



ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่มีใบอนุญาตอยู่อาศัยสามารถทำงานในไต้หวันได้ และเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่หางานทำได้อย่างราบลื่น หน่วยงานรัฐจึงได้จัดให้มี “เว็บไซต์ให้คำปรึกษาในการหางานของผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่1111” “เว็บข่าวสารจัดหางานในไต้หวัน” และสายด่วนให้บริการ นอกจากนี้ยังมีช่องทาง(สถานี)ให้บริการตามแต่ละเมือง ตามสายงาน และตามความต้องการของผู้หางาน โดยมีการให้บริการติดต่อสอบถาม ให้คำปรึกษา จัดหางาน ให้คำแนะนำในการสัมภาษณ์งาน จัดอบรมวิชาชีพเป็นต้น หากต้องการทราบสถานที่ตั้งของจุดให้บริการแต่ละแห่งสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่ “เว็บข่าวสารจัดหางานในไต้หวัน”

สูงสุด